ทีเชิร์ต หมายถึงเสื้อยืดคอกลมแขนสั้น ปกติจะไม่มีกระดุม ปกคอ และกระเป๋า ใช้สวมทางหัวและยาวคลุมเกือบทั้งลำตัว แขนเสื้อยาวอย่างน้อยคลุมไหล่แต่ไม่ถึงข้อศอก
เสื้อไหน ไม่ว่าจะยืดหรือไม่ยืด ถ้าไม่ได้ตามอย่างที่ว่าก็ไม่นับเป็น ทีเชิร์ต
ปกติทีเชิร์ตจะทำจากฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์หรือผสมกัน ทอเป็นผ้าที่มีลักษณะยืดได้เล็กน้อย ซึ่งทำให้ผิวสัมผัสของทีเชิร์ตมีความนุ่มพิเศษ ทีเชิร์ตมักถูกตกแต่งด้วยข้อความ รูปภาพ และบางครั้งใช้เพื่อการโฆษณา
แฟชั่นทีเชิร์ตนั้นมีทั้งแนวสำหรับหญิงและชาย และสำหรับทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นขนาดทารก เด็ก และผู้ใหญ่
ลวดลายบนทีเชิร์ตส่วนใหญ่นั้นใช้วิธีพิมพ์สกรีน ลวดลายจะถูกแยกตามสีแต่ละสี พลาสติซอลหรือหมึกชนิดน้ำจะถูกรีดลงไปบนเสื้อผ่านตาข่ายสกรีน ซึ่งจะกำหนดบริเวณที่หมึกจะซึมผ่านได้ ผู้ผลิตทีเชิร์ตเชิงพาณิชย์นิยมใช้พลาสติซอล เนื่องจากมีข้อได้เปรียบเหนือหมึกชนิดน้ำคือ พลาสติซอลที่สกรีนซ้อนกันนั้นจะทับอีกสีโดยไม่ผสมกัน ทำให้ไม่ต้องปรับสีเผื่อในขั้นตอนการออกแบบ
นอกจากการพิมพ์สกรีนแล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น แอร์บรัช รีดแผ่นลอก หรือพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์โดยใช้หมึกพิเศษ เทคโนโลยีใหม่ ๆ หลายชนิดช่วยให้การสั่งทำทีเชิร์ตลายเฉพาะไม่เหมือนใครจำนวนแค่ตัวเดียวเป็นจริงได้
สกรีนเสื้อด้วยวิธีทรานเฟอร์ความร้อน
นอกจากการสกรีนแบบซิลค์สกรีนโดยสกรีนหมึกพิมพ์ตรงลงบนเสื้อหรือเืนื้อผ้า ยังมีวิธีการพิมพ์สกรีนลวดลายแบบอ้อม(Indirect Screen Printing)โดยอาศัยความร้อนและแรงกดจากเครื่องรีดร้อนเป็นตัวทำปฏิกิริยานำพาหมึกพิมพ์หรือวัสดุที่เป็นลวดลายติดลงบนเนื้อผ้าซึ่งวิธีการสกรีนเสื้อโดยอาศัยการทรานเฟอร์ความร้อนสามารถแบ่งได้ดังนี้
อิงค์เจ็ททรานเฟอร์ คือการพิมพ์ลายด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทลงบนกระดาษทรานเฟอร์ชนิดพิเศษซึ่งมีเนื้อฟิลม์บาง ๆ เป็นตัวช่วยยึดเกาะหมึกพิมพ์ให้ติดลงบนเนื้อผ้าโดยอาศัยความร้อนจากเครื่องรีดร้อนเป็นตัวทำปฏิกิริยาละลายเนื้อฟิลม์เคลือบทับลงบนหมึกพิม์และเนื้อผ้า ซึ่งชั้นฟิลม์นี้ในส่วนที่ไม่ใช่ลวดลายหากไม่ทำการตัดออกก่อนนำไปกดด้วยเครื่องรีดร้อนจะทำให้เนื้อฟิลม์เคลือบติดลงไปทำให้เห็นเป็นกรอบสีเหลี่ยมของเนื้อฟิลม์ ดังนั้นจึงต้องมีการตัด (Trimming) ให้เหลือแต่ลวดลาย ซึ่งถ้าเป็นลวดลายที่ซับซ้อนยากในการตัดก็จำเป็นต้องใช้เครื่องตัด Cutting plotter เข้ามาช่วย (หากลายไม่ซับซ้อนสามารถทำ die cut ด้วยมือ) หลังจากนั้นจึงนำไปรีดลงบนเสื้อด้วยเครื่องรีดความร้อน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้ผลิตกระดาษทรานเฟอร์ชั้นนำได้คิดค้นและพัฒนาคุณสมบัติที่ทำให้เนื้อฟิลม์ที่ไม่ใช่ลวดลายสามารถหลุดลอกออกมาพร้อม ๆ กับการลอกแผ่นกระดาษที่เป็นพื้นหลังซึ่งเรียกกระดาษทรานเฟอร์ชนิดนี้ว่า Self Weeding หรือ Self Cutting Transfer paper สำหรับ ประเภทกระดาษทรานเฟอร์ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 แบบคือแบบที่ใช้กับเสื้อผ้าสีอ่อนและแบบที่ใช้กับเสื้อสีเข้ม และแบ่งตามคุณลักษณะการใช้งานในการลอกหลังจากการรีดร้อนได้ 2 แบบคือ ลอกขณะร้อน (Hot peel) โดยทำการลอกกระดาษที่เป็นพื้นหลังทันทีหลังจากกดด้วยเครื่องรีดร้อน และลอกแบบเย็น โดยเมื่อผ่านการกดทับด้วยเครื่องรีดร้อนต้องปล่อยให้เย็นลงก่อนจึงค่อยดึงกระดาษที่เป็นพื้นหลังออก ซึ่งการลอกทั้งสองแบบก็ให้ผลลัพท์ของผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน โดยการลอกกระดาษขณะที่ยังร้อนอยู่จะใ้ห้ผิวสัมผัสที่บาง (soft hand) และที่ผิวหน้าจะด้านเนื่องจากมีลวดลายบางส่วนถูกลอกติดไปบนกระดาษที่เป็นพื้นหลัง ส่วนการลอกในขณะที่เย็นผิวสัมผัสจะมีความเงาและหนากว่า
โพลี เฟล็กซ์ /ไวนิลทรานเฟอร์โพลีเฟล็กซ์และไวนิลเป็นวัสดุประเภทเดียวกับพลาสติกประเภท PVC มีคุณสมบัติทนน้ำและมีความคงทนสูงเมื่อโดนความร้อนจะละลายติดลงไปบนเนื้อผ้า ในงานสกรีนเสื้อแบบรีดความร้อนนิยมนำมาใช้สกรีนหมายเลขเสื้อกีฬา โลโก้ และตัวอักษร ผลลัพธ์ที่ได้จะให้ผิวสัมผัสที่ค่อนข้างมีน้ำหนัก มีความคมชัดและมีความเงา ในงานสกรีนเสื้อที่มีลวดลายเป็นตัวอักษรสามารถใช้ตัดได้ด้วยมือ แต่หากเป็นงานที่มีลวดลายซับซ้อนมากจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการตัดอย่าง Cutting plotter เข้าช่วย เช่นเดียวกับการตัดสติกเกอร์ โดยขั้นตอนจะเริ่มจากออกแบบงานหรือลวดลายในโปรแกรมกราฟิกแล้วสั่งตัดลวดลาย ผ่านเครื่องตัด หลังจากนั้นลอกพื้นที่ส่วนที่ไม่ใช่ลวดลายออกแล้วจึงนำไปกดทับด้วยเครื่องรีดร้อนในขั้นตอนสุดท้ายที่อุณหภูมิประมาณ 150 องศาเซศเซียส ประมาณ 10 นาที (หรือขึ้นกับคำแนะนำแต่ล่ะผลิตภัณฑ์) ในปัจจุบันวัสดุประเภทโพลีเฟล็กซ์และไวนีลสำหรับงานทรานเฟอร์มีให้เลือกทั้ง แบบที่เป็นสีมาตราฐาน และแบบที่มีเอฟเฟ็ค ประเภทผิวโลหะ ผิวเป็นประกายกากเพชร หรือผิวสะท้อนแสง โดยขายเป็นม้วน ๆ
พลาสติซอลทรานเฟอร์ เป็นในการสกรีนลวดลายลงบนเสื้อที่อยู่กึ่งกลางระหว่างการพิมพ์ตรงและการพิมพ์แบบทรานเฟอร์เนื่องจากการทำให้ลวดลายติดลงบนกระดาษทรานเฟอร์จะต้องใช้การสกรีนหมึกพิมพ์ตรงลงบนกระดาษเช่นเดียวกับการซิลค์สกรีนเสื้อโดยอาศัยหมึกพิมพ์สกรีนพลาสติซอลซึ่งมีคุณสมบัติของพลาสติก PVC เป็นองค์ประกอบ เมื่อสกรีนติดลงบนกระดาษแล้วนำไปกดทับด้วยความร้อนตัวหมึกพิมพ์จะทำปฏิกิริยากับความร้อนละลายติดซึมลงบนเนื้อผ้าเช่นเดียวกับ การสกรีนตรง การสกรีนแบบพลาสติซอลถือเป็นอีกเทคนิควิธีที่เป็นที่นิยมในต่างประเทศเนื่องจากได้คุณภาพงาานสกรีนที่ไม่แตกต่างจากการสกรีนแบบซิลค์สกรีนและไม่ต้องมีการทำสต๊อกสินค้า(เสื้อยืดที่ถูกสกรีนลวดลายพร้อมขาย) เพียงแต่สต๊อกเสื้อยืดเปล่าและงานพลาสติซอลทรานเฟอร์เตรียมไว้ เมื่อมีออเดอร์เข้ามาจึงเริ่มทำการผลิต(ถ่ายลายลงบนเสื้อยืดผ่านเครื่องรีดร้อน) อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้ก็เพิ่มต้นทุนให้กับการสกรีนเสื้อโดยมีต้นทุนด้าน กระบวนการในงานทรานเฟอร์เพิ่มเข้ามา และเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะกับงานสกรีนที่มีสีมากว่าหนึ่งสี หรือลวดลายที่ซับซ้อน เนื่องจากมีตัวแปรที่เพิ่มเข้ามาระหว่างกระบวนการคือกระดาษทรานเฟอร์ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาถึงคุณลักษณะประเภทของกระดาษ การลำดับสีที่จะสกรีนก่อนหลัง การออกแบบลวดลายเพื่อหลีกเลี่ยงการซ้อนทับกันทำให้เกิดชั้นสีที่หนา (โดยปกติเนื้อสีพลาสติซอลจะมีความหนาของเนื้อสีอยู่แล้ว) ดังนั้นในงานสกรีนพลาสติซอลทรานเฟอร์ที่มีลวดลายซับซ้อนจะต้องมีการทดสอบให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการก่อนลงมือผลิต
ออฟเซ็ททรานเฟอร์ การพิมพ์ลายลงบนกระดาษทรานเฟอร์ด้วยวิธีนี้เป็นการนำระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทที่ ใช้ในงานสิ่งพิมพ์มาใช้พิมพ์ลวดลายลงบนกระดาษทรานเฟอร์ แล้วนำไปรีดร้อนติดลงบนเสื้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น