วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนในประเทศไทย

พัฒนาการของอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีน
การพิมพ์ซิลค์สกรีนเริ่มต้นที่ประเทศจีน เมื่อประมาณ 2000 ปี โดยหลักการที่เป็นตรรกของสามัญสำนึก (COMMONSENSE) ขั้นพื้นฐาน ในการคิดค้นวิธีการพิมพ์ที่กำหนดให้ หมึกพิมพ์โดนปาดผ่านผ้า (สมัยก่อนเป็นผ้าไหม) ซึ่งขึงตึงบนกรอบ (สดึง) โดยมีการกำหนดลวดลายที่ต้องการพิมพ์ด้วยรูผ้าที่เปิดเพื่อให้หมึกพิมพ์ไหลผ่านลงสู่วัสดุพิมพ์เป็นลวดลายที่ต้องการและรูผ้าปิดเพื่อป้องกันหมึกพิมพ์ไหลผ่านจากวันนั้นถึงวันนี้ หลักการดังกล่าวข้างต้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่การพิมพ์ซิลค์สกรีนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยชาติตะวันตก เช่น ยุโรป อเมริกาได้นำหลักการพิมพ์สกรีนไปพัฒนาให้เป็นกระบวนการพิมพ์เชิงอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ 200 ปี และในระยะ 30-40 ปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มพัฒนาการพิมพ์สกรีนเพิ่มมากขึ้น สำหรับประเทศจีนในปัจจุบันมีการพัฒนาการพิมพ์สกรีนอย่างเร่งด่วนเช่นเดียวกับประเทศไทยและเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ผมขอกล่าวถึงการพัฒนา 3 ประการของอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนคือ 1) วัสดุอุปกรณ์การพิมพ์สกรีน 2) กระบวนการพิมพ์สกรีน 3) การประยุกต์กระบวนการพิมพ์สกรีน เพื่อการผลิตสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์สกรีน วัสดุอุปกรณ์การพิมพ์และกระบวนการพิมพ์สกรีนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น แม่พิมพ์สกรีนที่พัฒนาจากกรอบไม้ไปสู่กรอบโลหะด้วยรูปทรงที่มีทั้งตรง โค้ง วงรี ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับวัสดุพิมพ์ (SUBSTRATE) ผ้าสกรีนที่เดิมเป็นผ้าไหมได้เปลี่ยนเป็นผ้า NYLON, POLYESTER บางกรณีเป็นแผ่นที่ถักด้วยเส้นทองแดงหรือเส้น STANLESS STEEL ให้มีรูเปิด-ปิดเหมือนผ้าสกรีนเพื่อการพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ ดังนั้นคำว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีนจึงเปลี่ยนเป็น การพิมพ์สกรีน เพราะเราไม่ได้ใช้ผ้าไหมเป็นผ้าสกรีนอีกต่อไป ผ้า NYLON และ POLYESTER มีหลายประเภทจากหนาถึงบาง ด้วยรูผ้าหยาบถึงละเอียดมากและมีสีขาว สีเหลืองและสีแดงเพื่อการรับแสงในการสร้างแม่พิมพ์สกรีนที่แตกต่างกันการสร้างแม่พิมพ์สกรีนเพื่อกำหนดรูเปิดและรูปิดของผ้าสกรีน มีวิธีการคล้ายกับ STENCIL ที่มีการเจาะกระดาษแข็งให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือลวดลาย แล้วพ่นด้วยสีสเปร์ยให้ผ่านไปติดบนวัสดุพิมพ์ แต่การสร้างแม่พิมพ์สกรีนมีวิธีการเพิ่มมากขึ้นเพื่อการสร้างสรรค์งานหลากหลายประเภทโดยในปัจจุบันนิยมใช้ฟิล์มส้ม ฟิล์มเขียวสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ละเอียดมากนักและฟิล์มม่วง ฯลฯ สำหรับงานพิมพ์ที่ละเอียดมากขึ้นหรือการสร้างแม่พิมพ์ด้วยกาวอัด (EMULSION) ที่มีการออกแบบโครงสร้าง POLYMER เพื่อการพิมพ์ตั้งแต่หยาบถึงละเอียดมากเคมีภัณฑ์เพื่อการสร้างแม่พิมพ์สกรีนได้มีการพัฒนาเพื่อลดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับหมึกพิมพ์สกรีนที่มีแนวโน้มของการเป็นหมึกพิมพ์ WATERBASE ที่ NON TOXIC หรือหมึกพิมพ์ UV เพื่อการลดมลพิษเช่นเดียวกัน ซึ่งนับเป็น SAFETY FACTOR สำคัญของการพิมพ์สกรีนหมึกพิมพ์สกรีนมีการออกแบบให้มีความพิเศษพิสดาร ทั้งที่เป็นแบบ FUNCTION และแบบ DECORATION เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนญี่ปุ่นซึ่งมีการพัฒนาหมึกพิมพ์สกรีนที่ก้าวหน้ามากที่สุดในปัจจุบัน ยางปาดสกรีนเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปาดหมึกพิมพ์ ซึ่งต้องเสียดสีกับผ้าสกรีนตลอดเวลา ทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่าย สมัยก่อนยางปาดสกรีนทำจากยางธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันวัสดุ POLYURETHANE ได้ถูกนำมาทำยางปาดที่มีรูปตัดแตกต่างตามประเภทการใช้งานเพื่อเพิ่มหรือลด INK DEPOSIT ซึ่งต้องสัมพันธ์กับขนาดรูเปิดของผ้าสกรีน การขึงผ้าสกรีนบนกรอบให้ตึงสม่ำเสมอ ในอดีตเป็นการขึงโดยใช้มือดึงผ้าสกรีนซึ่งมักประสบปัญหาเรื่องแรงตึงผ้าสกรีนไม่สม่ำเสมอเมื่อกรอบมีขนาดใหญ่ แต่ปัญหาดังกล่าวได้มีการแก้ไขโดยเครื่องมือที่เป็นระบบแมคคานิคไปจนถึงระบบนิวเมติคที่ควบคุมความตึงของผ้าสกรีนได้อย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นกรอบสกรีนเล็ก กลาง ใหญ่ การสร้างแม่พิมพ์ที่เริ่มจากการใช้แสงแดดกลางแจ้งต่อมาเปลี่ยนเป็นการสร้างแม่พิมพ์ในห้องมืดด้วยตู้ไฟนีออนจนพัฒนามาเป็นไฟอาร์ค ไฟเมทาลฮาไลด์ ไฟซีนอนและไฟเมอคิวรีที่มีเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งประกอบเป็นอุปกรณ์ที่มีการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิคอย่างแม่นยำสามารถคำนวณระยะเวลาการส่องแสง (EXPOSURE TIME) พร้อมแจ้งค่าความสว่างของหลอดไฟหรือต้นกำเนิดแสง เพื่อการปรับระยะห่างจากต้นกำเนิดแสงและแม่พิมพ์สกรีน เครื่องสร้างแม่พิมพ์สกรีนรุ่นใหม่ที่เป็นระบบ AUTOMATIC โดยการนำแม่พิมพ์เข้าไปในตู้ที่เป็นแถวยาวซึ่งมีระบบการล้างแม่พิมพ์ การปาดกาว การฉายแสง การล้างแม่พิมพ์ที่สามารถสร้างแม่พิมพ์ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว อุปสรรคของการทำแม่พิมพ์สกรีนขนาดใหญ่ซึ่งต้องมี POSITIVE FILM ขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้มีการคิดค้นการใช้ FILM ขนาดเล็กฉายผ่านไฟแรงสูงด้วยแว่นขยายตรงสู่แม่พิมพ์สกรีน ทำให้ประหยัดค่า FILM ไปได้มากและสะดวกในการสร้างแม่พิมพ์สกรีน ขณะนี้เครื่องสร้างแม่พิมพ์ COMPUTER TO SCREEN (CPS) ที่ใช้ระบบ INKJET พ่นกาวอัดลงบนแม่พิมพ์สกรีนเพื่อการสร้างแม่พิมพ์สกรีนกำลังเป็นที่กล่าวขวัญของชาวสกรีน และนำไปสู่ระบบ FILMLESS ด้วย COMPUTER การพัฒนาเครื่องพิมพ์สกรีนทั้งแบบ SEMI-AUTO และ AUTOMATIC ซึ่งแต่ก่อนมักจะมีปัญหาเรื่องฉากพิมพ์ (REGISTRATION) ที่คลาดเคลื่อนเมื่อมีการพิมพ์หลายสีเพราะวัสดุพิมพ์มีการขยับตัวหรืออาจจะยืด-หดตัวเพราะความชื้นในอากาศที่เปลี่ยนแปลง แต่ในปัจจุบันเครื่อง ELECTRONIC EYE ซึ่งสามารถจัดฉากอย่างรวดเร็วและแม่นยำให้ทุกครั้งก่อนพิมพ์ โดยการปรับแม่พิมพ์และแท่นพิมพ์ให้สัมพันธ์กัน เครื่องพิมพ์สกรีนได้มีการพัฒนาให้มีความเร็วในการพิมพ์เพิ่มมากขึ้น ทั้งระบบ FLATBED, CYLINDER, ROTARY และด้วยการติดตั้งเครื่องอบแห้งยูวี ทำให้การพิมพ์สีต่อเนื่องหลายสีหรือการพิมพ์สีชุด (PROCESS COLOUR) สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การตั้งเครื่องพิมพ์สกรีนและเครื่องอบแห้งเรียงกันโดยตั้งอยู่บนรางหรืออุปกรณ์ยึดติดกับพื้นให้ต่อกันเป็นแถวยาวทำให้การทำงานสะดวกและสามารถควบคุมได้โดยง่าย สำหรับเครื่องพิมพ์สกรีนขนาดใหญ่ที่มีความยาว 20-30 เมตรอาจมีช่างควบคุม 2-3 คนเท่านั้นและด้วยการออกแบบเครื่องพิมพ์สกรีนลักษณะ PLUG IN / PLUG OUT ทำให้ช่างสามารถเพิ่มหรือลดหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องพิมพ์สกรีนได้อย่างสะดวก ปัจจุบันเครื่องพิมพ์สกรีนและเครื่องอบแห้ง AUTOMATIC ประเภท FLATBED สามารถพิมพ์ SUBSTRATE แผ่นเรียบขนาด 165 x 325 ซม. ด้วยสีชุด (4 สี) และสีพิเศษ (1 สี) ด้วยความเร็ว 850 แผ่น / ชั่วโมง เครื่องพิมพ์เสื้อยืด AUTOMATIC ที่ออกแบบให้มีแท่นพิมพ์ 18 แท่น เรียงเป็นวงกลมพร้อมเครื่องอบแห้งอินฟราเรด โดยสามารถพิมพ์เสื้อยืด 4 สีได้ประมาณ 800-1000 ตัว/ชั่วโมงด้วยความปราณีตสวยงาม กระบวนการหลังพิมพ์คือ การตากแห้งแบบ AIR DRY ไปจนถึงการอบแห้งด้วยไฟฟ้า อินฟราเรด และยูวีได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและคาดว่าการอบแห้งด้วยระบบไมโครเวฟจะเป็นการพัฒนาขั้นต่อไป ซึ่งวิธีการอบแห้งต่างๆสามารถทำให้การติดยึดของหมึกพิมพ์บนวัสดุพิมพ์เพิ่มมากขึ้น วัสดุพิมพ์ (SUBSTRATE) สำหรับการพิมพ์สกรีนมีหลากหลายประเภท ข้อสังเกตคือวัสดุพิมพ์ประเภทกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์สกรีนอาจมีอัตราส่วนน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการพิมพ์ OFFSET เพื่อผลิตหนังสือ สมุด ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามการพิมพ์สกรีนใช้กระดาษในการพิมพ์ป้ายโฆษณา-POINT OF SALE, นามบัตร, บรรจุภัณฑ์บางประเภท, กระดาษทรานสเฟอร์เซรามิค, ฉลาก, สติกเกอร์ ฯลฯ วัสดุพิมพ์อื่นๆที่การพิมพ์สกรีนใช้คือ ผ้า, แผ่นพลาสติก, แผ่นลูกฟูกพลาสติก, แก้ว, โลหะ, บรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ฯลฯ ปัจจุบันการคิดค้นวัสดุพิมพ์โดยเฉพาะพลาสติกที่เรียกกันว่า NEO FUNCTIONAL FILM ที่มีหลายประเภทและคุณสมบัติ และบางประเภทสามารถประยุกต์ใช้กับ DISPLAY PANEL ด้วยการพิมพ์สกรีน
วัสดุอุปกรณ์และกระบวนการพิมพ์สกรีนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน
โดยเฉพาะในระยะ 30-40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดลักษณะเด่นของการพิมพ์สกรีนคือ
STTS อันได้แก่ S=SIZE
ที่สามารถพิมพ์ได้หลากหลายขนาดตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่ประมาณ 2 x 5 เมตร
T=TEXTURE ที่สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์ที่มีผิวเรียบ/ขรุขระ/หยาบ/มัน/ด้าน ฯลฯ
T=THICKNESS ที่สามารถกำหนด INK DEPOSIT
ให้มีความหนาบางได้โดยการกำหนดปริมาณหมึกและขนาดรูผ้าของแม่พิมพ์ S=SHAPE
ที่สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์ซึ่งเป็นแผ่นเรียบ/โค้ง/รี/ทรงกลม/แก้ว/ภาชนะ ฯลฯ

ดังคำกล่าว ?เช้า สาย บ่าย ค่ำเราท่านแวดล้อมด้วยสิ่งพิมพ์สกรีน?
ด้วยเหตุที่การพิมพ์สกรีนสามารถพิมพ์ได้บนวัสดุพิมพ์มากมายจนบางท่านบอกว่า
ยกเว้นอากาศและน้ำ (แต่น้ำแข็งสามารถพิมพ์สกรีนได้)
การพิมพ์สกรีนสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้า 18 ประเภทธุรกิจคือ 1. ผ้า 2.
เซรามิค ? แก้ว ? หม้อเคลือบ 3. สิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณา 4. ป้ายชื่อ 5.
ป้ายสัญญาณ 6. ฉลากสินค้า 7. บรรจุภัณฑ์ 8. ของเล่น 9. ของขวัญ 10.
บัตรพลาสติก 11. แผ่น ซี. ดี. 12. อุปกรณ์กีฬา 13. อุปกรณ์ยานยนต์ 14.
อุปกรณ์ไฟฟ้า 15. แผงวงจรไฟฟ้า 16. เมมเบรนสวิช 17.
วัสดุอุปกรณ์การพิมพ์สกรีน 18. อื่นๆ
(กรณีที่ประเภทสินค้าไม่สามารถจัดเข้าได้ใน  17 ประเภท)
สินค้าบางประเภทเช่น แผ่น PCB จะเป็นการพิมพ์ลักษณะ FUNCTION สินค้าบางประเภท
เช่น บรรจุภัณฑ์, ของเล่นจะเป็นการพิมพ์ลักษณะ DECORATION สินค้าบางประเภทเช่น
แผ่นโฆษณา DISPLAY PANEL รุ่นใหม่ที่หมึกพิมพ์เป็นทั้ง FUNCTION และ DECORATION
โดยเป็นสื่อให้กระแสไฟฟ้าแรงต่ำ ทำให้เกิดแสงสว่างเพื่อการโฆษณารูปแบบใหม่
หรือการพิมพ์ภาพ 3D ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ด้วยเทคนิคการพิมพ์สกรีนที่เป็นทั้งวิธี DIRECT และ INDIRECT
ซึ่งสร้างความยืดหยุ่นในการผลิตสินค้า ฯลฯ DIRECT คือพิมพ์ตรงบนวัสดุพิมพ์ และ
INDIRECT คือการพิมพ์กระดาษ TRANSFER เพื่อนำไปแปะติดผลิตภัณฑ์ เช่น ถ้วย
CERAMIC ในปัจจุบันวิธีการ IMD (IN MOULD DECORATION) ที่นำแผ่น TRANSFER
ซึ่งพิมพ์สกรีนเข้าไปอยู่ใน MOULD ตอนฉีดบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ทำให้ภาพพิมพ์ฝังตัวอยู่ในบรรจุภัณฑ์ก่อให้เกิดความงามที่ปราณีตและทนทาน

การพิมพ์สกรีนก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้า โดยประมาณการว่า PRINT AREA
ที่คิดเป็นอัตราส่วนต่อขนาดของวัสดุพิมพ์มีความแตกต่างกันในสินค้าดังต่อไปนี้
1. ผ้า 70% 2. เซรามิค?แก้ว?หม้อเคลือบ 20% 3. สิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณา
50% 4. ป้ายชื่อ 50% 5. ป้ายสัญญาณ 50% 6. ฉลากสินค้า 50% 7. บรรจุภัณฑ์ 20%
8. ของเล่น 30% 9. ของขวัญ 30% 10. บัตรพลาสติก 70% 11. แผ่น ซี. ดี. 70%
12. อุปกรณ์กีฬา 10%  13. อุปกรณ์ยานยนต์ 3% 14. อุปกรณ์ไฟฟ้า 5% 15.
แผงวงจรไฟฟ้า 70% 16. เมมเบรนสวิช 70%

คำถามที่ว่าการพิมพ์ INKJET
จะมาแทนที่การพิมพ์สกรีนหรือไม่? คำถามเช่นเดียวกันว่าการพิมพ์ PAD
จะมาแทนที่การพิมพ์สกรีนหรือไม่?
กระบวนการพิมพ์ทั้งสองจะเป็นอุปสรรคของชาวสกรีนหรือไม่?
คำตอบคือเมื่อเราพิจารณาสินค้าทั้ง 18
ประเภทดังกล่าวข้างต้นซึ่งในปัจจุบันกระบวนการพิมพ์ทั้งสองมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าบางประเภทเช่น
การโฆษณาสำหรับ INKJET และบรรจุภัณฑ์, ของขวัญ สำหรับ PAD
แม้ว่าจะมีการพัฒนากระบวนการพิมพ์ทั้งสองเพิ่มมากขึ้นเพื่อการพิมพ์สินค้าประเภทอื่นๆ
ซึ่งดูเหมือนเป็นการแข่งขันกับการพิมพ์สกรีนแต่อันที่จริงชาวสกรีนไทยพิจารณาว่าเป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรค
ด้วยเหตุนี้ ชาวสกรีนไทยหลายท่านได้ผนวกกระบวนการพิมพ์ SCREEN ? PAD ? INKJET
เข้าด้วยกัน
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการสร้างสรรค์สินค้าได้หลากหลายประเภทมากขึ้นในลักษณะ
COMPLETE SERVICE

การพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนไทยอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 40
ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ศักยภาพในการผลิตสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์สกรีน
(หรือที่เรียกว่าสินค้า 18 ประเภท) ของชาวสกรีนไทยเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะฝีมือของชาวสกรีนไทยที่ปราณีตและประยุกต์เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิค แต่เรายังต้องมุ่งพัฒนาต่อไปในเรื่องของ KNOW HOW และ TECHNOLOGY
เพื่อเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่น
การที่ภาครัฐส่งเสริมการลงทุน (BOI)
จากบริษัทต่างชาติของอุตสาหกรรมประเภทต่างๆในประเทศไทยก่อให้เกิดงานพิมพ์สกรีนเพิ่มมากขึ้นในลักษณะ
SUPPORTING INDUSTRY-การจ้างพิมพ์
ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสแก่ชาวสกรีนไทยในการพิมพ์สกรีนเพื่อภาคอุตสาหกรรม
ด้วยแนวคิดในการสร้างสินค้ามูลค่าเพิ่ม
โดยพัฒนาจากสินค้าประเภทประโยชน์ใช้สอยทั่วไป (GENERAL PURPOSE PRODUCT)
เป็นสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (HIGH VALUE-ADDED PRODUCT) ด้วย KNOW HOW และ
TECHNOLOGY ขั้นสูง ซึ่งการพิมพ์สกรีนสามารถมีส่วนส่งเสริมแนวคิดดังกล่าวได้
ดังนั้นประเด็นสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนไทยจากการรับจ้างพิมพ์ไปสู่การสร้างงานพิมพ์และ/หรือการรับจ้าง+สร้างงานพิมพ์ด้วยการออกแบบ
วิจัยและค้นคว้าร่วมกันระหว่างฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต (พิมพ์)
และฝ่ายการตลาด-ขาย-บริการของทั้งสินค้า 18 ประเภท
เพื่อการส่งเสริมมาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น ทั้งในเรื่องรสนิยม การสร้างสรรค์
เทคโนโลยีการพิมพ์และการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ส่งเสริมให้เป็นสินค้าที่สามารถแข่งขันในตลาดโลก
ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้การพิจารณากำหนดมาตรฐานสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์สกรีนไทย
(หรือที่เรียกว่าสินค้าทั้ง 18 ประเภท) นับเป็นความสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ
เช่นเดียวกับการพิจารณากำหนดมาตรฐานผู้ประกอบการพิมพ์สกรีนไทย
และการพิจารณากำหนดมาตรฐานสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย
ซึ่งนับเป็นพันธกิจสำคัญของสมาคมการพิมพ์สกรีนไทยร่วมกับสมาชิกสมาคมฯและบุคลากรในอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนไทย

เครื่องพิมพ์สกรีน

เครื่องพิมพ์สกรีนแบบวงกลมระบบกึ่งอัตโนมัติ
การพิมพ์สกรีนเป็นหนึ่งในระบบการพิมพ์ที่ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในด้านอุปกรณ์แม่พิมพ์สกรีน เช่น ผ้าสกรีน ยางปาด กาวอัด ฟิล์มทำแม่พิมพ์สกรีน เครื่องพิมพ์สกรีน หมึกพิมพ์ ฯลฯ และเทคนิคการพิมพ์ซึ่งได้แก่ การพิมพ์ตรงบนชิ้นงาน การพิมพ์รูปลอก รวมทั้งการพิมพ์บนวัสดุที่มีความหลากหลายทั้งด้านรูปทรง และประเภทของวัสดุ และหนึ่งในวัสดุที่มีการพัฒนามากที่สุดคือ การพิมพ์สกรีนลวดลายต่างๆ ลงบนผ้าหากต้องการทราบถึงความเป็นมาของการพิมพ์ลวดลายต่างๆ บนผ้า คงต้องย้อนกลับไปประมาณ 2,000 ปีก่อนในประเทศจีนที่ได้มีการค้นพบลายพิมพ์บนผ้า ซึ่งเชื่อกันว่าได้ถูกพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่ทำมาจากเส้นผมของมนุษย์ต่อมา ประมาณ ปี ค.ศ. 1850 ในวงการอุตสาหกรรมพิมพ์ผ้าได้มีการใช้เทคนิคการพิมพ์ผ้าที่ทันสมัยครั้งแรกในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสแต่การพิมพ์ที่ทันสมัยได้รับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์เริ่มต้นขึ้นในประเทศอเมริกาเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1911 โดยกลุ่มผู้ผลิตป้ายที่เล็งเห็นความต้องการของป้ายโฆษณาจำนวนมากสำหรับติดตั้งกับรถโดยสารประจำทาง โดยพวกเขาได้ใช้ผ้าไหมธรรมชาติที่ทอเป็นผืนมาทำเป็นแม่พิมพ์ แทนแม่พิมพ์ที่เคยทำมาจากกระดาษและตัดขึ้นรูป นอกจากนี้ยังได้ใช้ยางปาดแทนแปรงทาสีอีกด้วย และหลังจากที่ขั้นตอนการพิมพ์ที่ทันสมัยในยุคนั้นสามารถสร้างมูลค่าในธุรกิจการพิมพ์ได้เป็นอย่างดี พวกเขาจึงได้ขยายธุรกิจออกไปในรูปแบบของแฟรนไชส์ การพัฒนาการทำแม่พิมพ์ที่ถือว่าเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1940 เมื่อนักเคมีชาวอังกฤษได้คิดค้นฟิล์มทำแม่พิมพ์ที่สามารถถ่ายอัดลวดลายได้ด้วยการถ่ายภาพลงบนฟิล์มชนิดนี้แล้วนำไปติดบนแม่พิมพ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พัฒนาการของสิ่งพิมพ์และการพิมพ์ได้ชะลอตัวลงเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการแม่พิมพ์ แต่ต่อมาในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1960 ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดสิ่งพิมพ์ที่เน้นความเร็วและความแม่นยำในการพิมพ์ลวดลายความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และจำนวนผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการการพิมพ์ที่เร็วขึ้นและแม่นยำด้วยต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ การพิมพ์สกรีนยังคงมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเสมอ เช่น การพิมพ์บนแผงวงจรไฟฟ้า ทดแทนการใช้สายไฟติดลงบนแผ่นวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ในขณะที่ปริมาณของวัสดุที่ใช้พิมพ์มากขึ้น จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็น กล่องบรรจุภัณฑ์ กระดาษ วัสดุแผ่นเรียบอื่นๆ รวมทั้ง การพิมพ์ผ้าก็เช่นกัน เครื่องจักรได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพิมพ์มากขึ้น ด้านวัสดุที่ใช้ในการผลิตแม่พิมพ์สกรีน เช่น ผ้าสกรีน ก็ได้มีการคิดค้นวัสดุสังเคราะห์เข้ามาแทนที่ผ้าไหม ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ทำให้ได้ผ้าสกรีนที่แข็งแรง และมีความละเอียดดีขึ้น ซึ่งช่วยให้การพิมพ์บนผ้าสามารถเก็บรายละเอียดของลวดลายมากขึ้น และการพิมพ์สอดสีก็ทำได้แม่นยำขึ้น การพิมพ์สกรีนเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถคิดค้นเทคนิคการพิมพ์ที่หลากหลาย เมื่อเปรียบเทียบกับการพิมพ์ด้วยวิธีอื่นๆ และมีต้นทุนที่ต่ำกว่า จึงเป็นสาเหตุให้การพิมพ์ผ้ามีความกว้างขวางขึ้น และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน จากผ้าสีเรียบ ได้ถูกนำมาพิมพ์ลวดลายลงไป ทำให้ผ้าที่พิมพ์มีมูลค่ามากขึ้นจากโต๊ะเทียนที่เรียงกันเป็นแนวยาว ใช้คนพิมพ์จำนวนมาก จนมาเป็นเครื่องพิมพ์แบบหมุนโดยใช้คนประจำแท่นแต่ละแท่นในการพิมพ์แต่เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ก็ยังมีข้อเสียอยู่ที่ว่า จำนวนสีจะถูกจำกัด4-6สี แต่ก็ยังเป็นที่นิยมเพราะการพิมพ์เสื้อยืดสมัยก่อนไม่จำเป็นต้องใช้สีหลายสี การออกแบบส่วนใหญ่ยังใช้จำนวนสีที่จะพิมพ์ไม่มาก และเครื่องพิมพ์เสื้อยืดนี้ก็เป็นการลงทุนที่ไม่มากนักหลังจากนั้น เมื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่เอื้ออำนวย รวมทั้งวิศวกรรมที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล และอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้าไปมาก ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สกรีนจึงได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้มาพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้สะดวกกับการใช้งานมากขึ้น  จึงถือกำเนิดเครื่องพิมพ์เสื้อยืดกึ่งอัตโนมัติขึ้น ซึ่งมุ่งเน้นให้มีความสามารถในการพิมพ์จำนวนสีมากขึ้น อีกทั้งยังแม่นยำมากขึ้นด้วย โดยใช้คนงานเพียง 2 คนในการควบคุมเครื่อง คนงานสามารถป้อนระบบการทำงานอัตโนมัติได้ และเพียงคอยป้อนเสื้อยืดเข้าและออกเท่านั้นมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีบทบาทมากขึ้น ทางด้านผู้ผลิตจึงได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์มาประยุกต์เข้ากับเครื่องพิมพ์เพื่อให้เครื่องพิมพ์มีความสามารถในการพิมพ์ที่หลากหลายและ แม่นยำมากยิ่งขึ้นปัจจุบัน เครื่องพิมพ์กึ่งอัตโนมัตินี้สามารถอำนวยความสะดวกและเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าแรงงานคนเป็นทวีคูณ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์สอดสีที่เน้นความแม่นยำ ซึ่งความแม่นยำของเครื่องอยู่ในเกณฑ์ 0.01 มิลลิเมตร หรือ 10 ไมครอนเท่านั้น ซึ่งการพิมพ์ด้วยมือไม่สามารถพิมพ์ได้แม่นยำและสม่ำเสมอได้ในระดับนี้ นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์กึ่งอัตโนมัตินี้จะช่วยลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากการพิมพ์ที่คลาดเคลื่อนในระบบแรงงานคนด้วย ระบบของเครื่องนี้ สามารถตั้งโปรแกรมความเร็ว และแรงกดในการปาดของยางปาดได้ เพื่อให้เหมาะกับงานพิมพ์หลายประเภท และหัวพิมพ์แต่ละหัวจะทำงานอิสระขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของโปรแกรมในหัวพิมพ์นั้นๆ การตั้งค่า off-contact หรือระยะห่างระหว่างแม่พิมพ์สกรีนกับชิ้นงาน ก็สามารถตั้งได้เพียงกดปุ่มบนจอ touchscreen เท่านั้น และในกรณีที่เกิดการคลาดเคลื่อนของตำแหน่งพิมพ์สอดสี เครื่องก็จะปรับแต่งแก้ไขตำแหน่งแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัสซึ่งต่างจากแรงงานคนที่จำเป็นต้องแก้ไขโดยการทำแม่พิมพ์สกรีนใหม่ สำหรับผู้ที่มีความสนใจจะลงทุนกับเครื่องพิมพ์เสื้อยืดกึ่งอัตโนมัติ สามารถสั่งสินค้าจากผู้ผลิต หรือผู้แทนจำหน่ายได้ โดยผู้ซื้อสามารถระบุให้เครื่องมีฟังก์ชั่นต่างๆได้ตามความต้องการ อีกทั้งเครื่องยังมีความสามารถในการพิมพ์อื่นๆ เช่น ขากางเกง ผ้าเช็ดหน้า เสื้อผ้าเด็ก อีกทั้งผู้ซื้อยังสามารถระบุจำนวนสีที่จะพิมพ์ ซึ่งปัจจุบันนี้ทางผู้ผลิตเครื่องเองสามารถผลิตเครื่องที่มีจำนวนมากถึง 20 สีปัจจุบันนี้มีหมึกพลาสติซอล (Plastisol) ซึ่งเป็นหมึกที่ไม่แห้งเร็วจนตันแม่พิมพ์ ทำให้เครื่องพิมพ์อัตโนมัตินี้สามารถนำมาใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะพิมพ์หนาหรือบางแค่ไหน เครื่องพิมพ์ก็สามารถพิมพ์ได้ หรือจะให้ยางปาดๆช้าหรือเร็วก็ได้ เพื่อให้เสื้อยืดหรือชิ้นงานมีลูกเล่นที่โดดเด่นแปลกตา และสามารถขายในราคาสูงกว่าปกติ


 แม่พิมพ์สกรีนแบบหนา (Thickness Stencil)
งานพิมพ์สกรีนที่ใช้แม่พิมพ์สกรีนแบบหนา ได้แก่ งานพิมพ์หมึกพลาสติซอล
สำหรับแม่พิมพ์สกรีนนี้จะมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับแม่พิมพ์สกรีนโดยทั่วไป คือ
กรอบสกรีน ผ้าสกรีน ฟิล์มหรือกาวอัดที่ใช้ทำแม่พิมพ์ สกรีน
ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบนี้จะมีลักษณะเฉพาะบางประการที่แตกต่างกัน เช่น
กรอบจะต้องมีความแข็งแรง รับแรงตึงได้สูงกว่างานพิมพ์ทั่วไป
ผ้าสกรีนอาจจะต้องใช้ผ้าสกรีนเบอร์ต่ำสำหรับหมึกพลาสติซอลบางประเภท
หรือแม้กระทั่งฟิล์มและกาวอัดที่ใช้ทำแม่พิมพ์สกรีนจะต้องมีชั้นของฟิล์มหรือกาวอัดที่หนามาก
เป็นต้น โดยสามารถแยกรายละเอียดและวิธีการทำแม่พิมพ์สกรีนแบบหนาได้ดังนี้

การเลือกกรอบสกรีน
กรอบสกรีนที่มีคุณภาพสูงและทนทานมักราคาแพง
แต่ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนมาใช้กรอบอลูมิเนียมกันมากขึ้น
ซึ่งเป็นกรอบที่สามารถรับแรงต่างๆได้ดี โดยเฉพาะ
แรงที่เกิดจากแรงดึงของผ้าสกรีน ซึ่งจะกระจายไปทั่ว 4 ด้านของกรอบสกรีน
ในกรณีที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า กรอบด้านยาวจะโค้งเข้ามากกว่ากรอบด้านสั้น
ซึ่งในกรณีนี้จะต้องคำนึงถึงโครงสร้างและขนาดของอลูมิเนียม
รวมถึงคุณภาพของอะลูมิเนียมด้วย
การขึงผ้าสกรีนสำหรับงานพิมพ์หมึก Plastisol
ชนิดพิเศษ
ในการขึงผ้าสกรีนมีสิ่งที่เกี่ยวข้องและควรจะเรียนรู้ก่อนการขึงผ้าสกรีนคือ
คุณสมบัติของกรอบสกรีน และผ้าสกรีนแต่ละประเภท ซึ่งพอสรุปได้คือ
ต้องเลือกผ้าสกรีนที่มีเบอร์ และประเภทของผ้าสกรีนให้เหมาะสมกับงาน
ตัวอย่างเช่น ใช้ผ้าสกรีนเบอร์ 15-160 และผ้าสกรีนเบอร์ 15-260
จะสังเกตได้ว่าตัวเลข 160 และ 260 ที่อยู่ตามหลังเลข 15
นั้นจะบ่งบอกขนาดของลำด้าย ซึ่งจะเห็นว่า 160 
จะเป็นเส้นด้ายที่เล็กกว่า 260  ซึ่งแน่นอนว่าลำด้าย 160 
จะต้องมีรูเปิดมากกว่าอีกลำด้ายหนึ่ง เมื่อรูเปิดมากกว่า หมึกก็ต้องลงมากกว่า
ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้หมึกหนาเป็นพิเศษ
แนวทางในการขึงผ้าสกรีน
-
ความตึงควรเท่ากันทั่วทั้งบล็อกสกรีน
-
เส้นด้ายของผ้าสกรีนควรจะขนานกันตลอดทั้งเส้นด้ายแนวตั้ง (Warp)
และเส้นด้ายแนวนอน (Weft) ของผ้าสกรีน
-
บล็อกสกรีนควรจะมีความตึงเพียงพอที่จะดีดตัวขึ้นเมื่อมีการกดขณะพิมพ์
-
ความตึงของผ้าสกรีนควรคงที่ให้นานที่สุด
การเคลือบกาวอัดให้หนา (The Coating
Thickness)
การเคลือบกาวอัดบนผ้าสกรีนให้มีความหนานั้น
ขึ้นอยู่กับปัจจัยมาประกอบกันหลายประการคือ
-
ผ้าสกรีนที่ใช้ต้องเป็นเบอร์ต่ำๆ
- เนื้อ (Solid Content)
ของกาวอัดที่ใช้ต้องสูง
-
วิธีการปาดกาวอัด

ในการทำบล็อกสกรีนที่มีความหนามากกว่าทั่วไปโดยใช้กาวอัด
ต้องเลือกกาวอัดโดยเฉพาะมาใช้ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับหมึก Plastisol
ชนิดพิเศษได้เป็นอย่างดี จะให้ความหนาตั้งแต่ 100 ? 2000 
ขึ้นอยู่กับวิธีการปาดกาว การใช้ผ้าเบอร์ต่ำ และความตึงของผ้าต้องไม่ต่ำกว่า 25
N/cm

การปาดกาวสามารถปาดกาวให้ทั่วด้วยมือ และปาดกาวด้วยเครื่อง
ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
- ปาดด้านพิมพ์ 2 ครั้ง
-
ปาดด้านยางปาดตามจำนวนครั้งที่ต้องการ โดยที่กาวอัดยังไม่แห้งตัว

ส่วนที่ควรระมัดระวังคือ จะต้องปาดกาวอัดอย่างช้าๆ
และควรใช้รางปาดที่มีรัศมีของขอบรางปาด มิลลิเมตร
หลังจากปาดกาวแล้วควรปล่อยให้แห้ง หรืออบกาวให้แห้งอย่างน้อย 12 ชั่งโมง
ภายใต้อุณหภูมิไม่เกิน 30 c
สำหรับการถ่ายไฟ ควรใช้ไฟถ่ายแบบ Metal
Halide ที่มีกำลัง 5,000 วัตต์ มีความยาวคลื่นแสง 320 ? 420 นาโมมิเตอร์
ระยะห่างควรลดลงมาประมาณ 2 % ซึ่งสามารถลดระยะเวลาถ่ายลงได้ 35 %
ไม่ควรใช้ไฟถ่ายแบบแรงดันไอปรอท
และแบบหลอดฟลูโอเรสเซนต์
การทำแม่พิมพ์สกรีนด้วยฟิลม์แคพพิลลารี่ชนิดหนา
หรือ ฟิลม์หนา ( Thick
Film)
นอกจากการทำแม่พิมพ์สกรีนอย่างหนาโดยใช้กาวอัดแล้วยังสามารถทำแม่พิมพ์อย่างหนาได้อีกวิธืหนึ่งคือ
ใช้ฟิล์มแคพพิลลารี่ชนิดหนา ซึ่งวิธีการติดฟิล์มชนิดหนา
เราประยุกต์จากวิธีการทำแม่พิมพ์สกรีนแบบผสม ( The indirect direct
photostencil system) มาใช้
ความหนาของฟิล์มประเภทนี้มีตั้งแต่ 100 ? 400
 และใช้กาวอัดที่เป็นตัวประสานให้แผ่นฟิล์มติดกับผ้าสกรีน
ซึ่งเป็นกาวอัดที่มีไวแสงอยู่ในตัว สามารถนำไปใช้ได้เลย

ขั้นตอนการทำพออธิบายได้ดังนี้
- ทำความสะอาดผ้าสกรีน
จากนั้นทำให้ผ้าสกรีนแห้ง
- ติดฟิล์มหนา ( Thick film) โดยใช้กาวอัด
ติดแบบการติดฟิล์มม่วง แล้วทำให้แห้งอีกครั้ง
-
เมื่อฟิล์มแห้งให้ลอกแผ่นพลาสติกออก แล้วติดแม่แบบ จากนั้นนำไปถ่ายไฟ
-
เมื่อครบเวลาตามกำหนด ถอดแม่แบบ นำบล็อกไปแช่น้ำประมาณ 20 ? 30 นาที
แล้วนำขึ้นมาฉีดล้างลวดลาย แล้วจึงนำไปอบแห้ง
-
ตรวจสอบความเรียบร้อย

รายละเอียดข้างต้นเป็นแนวทางในการทำแม่พิมพ์สกรีนแบบหนา
โดยงานพิมพ์แต่ละประเภทจะมีรายละเอียดในการพิมพ์ที่แตกต่างกัน เช่น
ระดับความหนาของชั้นหมึกพิมพ์ที่ต้องการ ความคมชัดของงานพิมพ์ ฯลฯ
ซึ่งระดับความหนาของงานพิมพ์หากต้องการความแม่นยำ ก็ควรใช้ฟิล์มในการทำ
เนื่องจากมีความหนาที่แน่นอน
ในขณะที่ความหนาที่ได้จากการทำด้วยกาวอัดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น
วิธีการปาด จำนวนครั้งในการปาด เป็นต้น แต่หากต้องการพิมพ์งานจำนวนมาก
ก็ควรใช้กาวอัด เนื่องจากมีความคงทนมากกว่า อย่างไรก็ตาม
ผู้พิมพ์แต่ละท่านจะทราบเกี่ยวกับงานพิมพ์ของตนเอง
จึงควรประยุกต์ในการทำแม่พิมพ์สกรีนแบบหนานี้ให้เหมาะกับงานพิมพ์ของตนเองมากที่สุด

ประวัติเสื้อ t-shirts

ทีเชิร์ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Standard T-Shirt

ทีเชิร์ต วิกิพีเดีย
ทีเชิร์ต (อังกฤษ: T-shirt หรือ tee shirt) หรือ เสื้อยืด คือเสื้อที่ส่วนใหญ่จะไม่มีกระดุม ปกเสื้อ และกระเป๋า โดยมีลักษณะคอกลมและแขนสั้น ซึ่งแขนของเสื้อส่วนใหญ่จะไม่เลยข้อศอก ถ้าเกินกว่านั้นจะเรียกเสื้อทีเชิร์ตแขนยาว
เสื้อทีเชิร์ตโดยทั่วไปจะทำจากผ้าฝ้าย หรือ ผ้าใยสังเคราะห์ โดยมากแล้วทีเชิร์ตจะมีการออกแบบลายด้วยตัวหนังสือหรือรูปภาพ และนิยมใส่กันทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งทารก วัยรุ่น และผู้ใหญ่

[แก้] ประวัติ

แนวความคิดการผลิตเสื้อทีเชิร์ตมาจาก ชั้นใน ซึ่งพัฒนามาจากเสื้อชั้นใน เสื้อนั้นมีมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ และค่อยๆ ได้รับความนิยม จนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของทีเชิร์ตก็ได้เกิดขึ้น โดยมีการอ้างสถานที่เกิดอย่างน้อยก็ในแคลิฟอร์เนีย และ สหราชอาณาจักร ในช่วงราวปี 1913 ถึง 1948 ซึ่งในช่วงนั้นได้มีการพัฒนาไปอย่างช้า ๆ

ปกนิตยสารไลฟ์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ขึ้นหน้าปกทหารที่ใส่เสื้อทีเชิร์ต และเขียนข้อความว่า "Air Corps Gunnery School"
จากข้อมูลหลาย ๆ แห่ง มีการอ้างว่า สถานที่ ๆ เป็นต้นกำเนิดแนวความคิดของทีเชิร์ตจริง ๆ เห็นจะเป็นที่สหรัฐอเมริกา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อทหารอเมริกัน ได้สังเกตว่า ทหารยุโรปได้ใส่เสื้อในจากผ้าฝ้ายเบา ขณะที่ทหารอเมริกันเปียกเหงื่อกับชุดที่ทำจากขนสัตว์ ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็ได้เปลี่ยนมาใช้ผ้าฝ้าย ซึ่งสะดวกสบายขึ้นและได้รับความนิยมในหมู่ชาวอเมริกัน เพราะเนื่องจากรูปลักษณ์ของเสื้อจึงได้เรียกว่าเสื้อ ทีเชิร์ต (T-shirt) ที่มาขอชื่อนั้น ไม่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่จะมาจากรูปร่าง ของเสื้อที่มีลัษณะเป็นตัว "T" และชัดเจนขึ้นเมื่อในกองทัพเรียกเสื้อนี้ว่า "training shirt" (เสื้อสำหรับฝึก)
ในปี 1932 ฮาวเวิร์ด โจนส์ขอให้บริษัทผลิตกางเกงในอย่าง จ็อกกี้ ผลิตเสื้อที่ซับเหงื่อสำหรับทีม ยูเอสซี ฟุตบอล ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นทีเชิร์ตยุคใหม่[1] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทีเชิร์ตได้กลายเป็นเสื้อมาตรฐานทั่วไป ในกองทัพสหรัฐอเมริกาและนาวิกโยธิน ถึงแม้ว่าทีเชิร์ตจะเป็นชั้นใน แต่ทหารส่วนใหญ่ก็มักจะใส่โดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอก และด้วยเหตุที่ภาพที่ปรากฏต่อสาธารณะบ่อยขึ้น ที่นายทหารใส่เสื้อทีเชิร์ตกับกางเกงขายาว และเป็นที่ยอมรับทีละน้อย จนเมื่อนิตยสารไลฟ์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ขึ้นหน้าปกทหารที่ใส่เสื้อทีเชิร์ต และเขียนข้อความว่า "Air Corps Gunnery School"[2]
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทีเชิร์ตได้ปรากฏโดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอกคลุม ในปี 1948 ผู้สมัครประธานาธิบดี โธมัส อี. ดีวเวย์ ผลิตเสื้อเชิร์ต "Dew It for Dewey" ขึ้น ได้รับการบันทึกว่าเป็นเสื้อยืดสกรีนตัวหนังสือตัวแรก (ปัจจุบันเก็บไว้อยู่ที่สถาบันสมิทโซเนียนของอเมริกา)[3] และต่อมาในปี 1952 ก็ได้ผลิตทีเชิร์ต "I Like Ike" เพื่อสนับสนุน Dwight D. Eisenhower และจอห์น เวย์น,มาร์ลอน แบรนโด และเจมส์ ดีน ก็ได้ใส่เสื้อตัวนี้ปรากฏตัวในโทรทัศน์ด้วย ซึ่งเป็นที่ตกตะลึงของประชาชน จนกระทั่งในปี 1955 จึงเป็นที่ยอมรับ
ในปัจจุบันเสื้อยืดมักสกรีนข้อความและลวดลายเพื่อให้เหมาะสมกับความเชื่อ รสนิยมของผู้สวมใส่ เช่นเสื้อยืดวงดนตรีต่างๆ และเนื่องจากราคาถูกและสามารถทำได้ง่ายจึงมักทำเป็นของที่ระลึก ของแจกของแถม ของขวัญ เป็นที่ประชาสัมพันธ์ ที่โฆษณา ส่วนข้อความที่ได้รับความนิยมในการเขียนบนทีเชิร์ต เช่น “ฉันหัวใจเอ็นวายซี” รวมถึงลายล้อเลียนต่างๆ ที่ตามมา หรือข้อความ “staying alive” ที่ได้รับความนิยมช่วงหนึ่งในกรุงเทพforklift
เสื้อทีเชิร์ตมีหลายรูปแบบไว่จะเป็นในแบบลวดลายต่างๆเช่น ลายการ์ตูน ลายดอกไม้ ลายรูปดารา ลายธรรมชาติ และอื่นๆอีกมากมายและเป็นที่นิยมในทุกสมัยไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหย่ วัยไหนๆก็สวมใส่ได้เพราะเสื้อยืดจะมีราคาถูกไม่แพงมากนักสามารถหาสวมใส่ได้ง่ายโดยทั่วไป

เสื้อยืดที่ผลิตจากผ้า Cotton 100 % แบ่งเกรดอย่างไร

     ผ้าฝ้าย หรือ cotton 100% ที่นำมาผลิตเสื้อยืดสามารถแบ่งตามเบอร์เส้นด้าย โดยทั่วไปได้ 3 เบอร์ คือ 20,32,40 ตามลำดับ สำหรับเบอร์เส้นด้ายที่สูงเกิน 40 ขึ้นไปจะพบเห็นได้ไม่มากนักในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าที่ต้องสั่งทอขึ้นโดยเฉพาะตามเบอร์ที่ต้องการ เนื่องจากกระบวนการในการผลิต(ปั่นเส้นด้าย)ให้เส้นด้ายมีขนาดเล็กต้องอาศัยเครื่องจักรและการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อน จึงมีต้นทุนที่สูงในการผลิต เมื่อนำมาผลิตเสื้อยืดก็จะมีต้นทุนสูงตามไปด้วย ถ้าเบอร์น้อยจะใช้ด้ายเส้นใหญ่ เบอร์ มากใช้ด้ายเส้นเล็ก เช่นผ้า Cotton 100 % เบอร์ 20 เนื้อผ้าจะมีความหนามากกว่าเบอร์ 32 เนื่องจากขนาดเส้นด้ายที่ใหญ่กว่า โดยทั่วไปผ้า Cotton ที่นิยมนำมาใช้ทำเสื้อยืดและเสื้อโปโล ในราคาระดับปานกลางถึงสูงคือผ้า Cotton 100% เบอร์ 20 (เสื้อยืดสำหรับผู้ชาย) และ 32(เสื้อยืดสำหรับผู้หญิง) ส่วนเบอร์ 40 มักจะนำมาทำเสื้อสำหรับเด็กอ่อน หรือเสื้อที่เน้นความบางเป็นพิเศษ และเสื้อยืดแบรนเนมส์บางรุ่นเบอร์ที่สูงกว่า 40 จะเป็นเสื้อยืดที่ต้องสั่งทอผ้าขึ้นเป็นพิเศษ
     กระบวนการผลิตเส้นด้าย เป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพของเนื้อผ้า เพื่อให้ได้เส้นใยที่มีคุณภาพทั้งในด้านการเรียงตัวของด้ายที่มีความหนาแน่นสม่ำเสมอและกำจัดสิ่งสกปรกแปลกปลอมออกจากเส้นใยเพื่อให้ได้เส้นด้ายที่มีคุณสมบัติที่ดีเมื่อไปทอเป็นผ้าผืน ทำให้สามารถแบ่งเกรดผ้าฝ้ายที่ผ่านกระบวนการผลิตได้ 3 เกรดคือ
     Cotton OE ไม่ผ่านกระบวนการคัีดคุณภาพของเส้นใยฝ้าย เสื้อยืดที่ผลิตจาก cotton ชนิดนี้จะมีความกระด้างกว่าอีกสองประเภทรวมถึงความเหนียวทนต่ำขาดง่าย เป็นผ้า Cotton เกรดต่ำสุด และมีราคาถูกสุด เนื่องจากต้นทุนในการใช้เครื่องจักรและกระบวนการในการผลิตจากเส้นใยฝ้ายเป็นเส้นด้ายมีต้นทุนต่ำที่สุด
     Cotton Semi ผ่านกระบวนผลิตเส้นด้ายโดยวิธีการสางเส้นใยฝ้ายโดยครื่องจักรทำให้ได้ผลผลิตเป็น เส้นด้ายใยสั้น ที่มีขนาดใหญ่ (เบอร์ 20 - 32) และมีความเนียนนุ่มและกระด้างในระดับปานกลาง
     Cotton Comp ผ่านกระบวนผลิตเส้นด้ายโดยวิธีการหวีเส้นใยด้วยเครื่องจักร ซึ่งมีกระบวนที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนกว่าแบบการสาง ทำให้ได้ผลผลิตเป็น เส้นด้ายที่มีขนาดเล็ก (เบอร์ 32 ขึ้นไป) และสามารถขจัดสิ่งสกปรกออกจากเส้นใยได้ในเปอร์เซ็นที่มากกว่า รวมถึงได้เส้นด้ายที่มีเส้นใยที่ยาวกว่า เมื่อนำมาทอเป็นผ้าผืนจึงเป็นผ้า cotton ที่เนื้อดีมีความนุ่ม และ่กระด้างในระดับต่ำ เหนียวทน ขาดยาก มีความมัน

เนื้อผ้าที่ใช้ผลิตเสื้อยืด

     เนื้อผ้าที่นำมาทำเสื้อยืดนั้นมีหลายเกรดหลายราคา รวมถึงคุณสมบัติของเนื้อผ้าก็แตกต่างกัน ก่อนจะซื้อเสื้อยืดหรือสั่งสกรีนเสื้อ นอกจากเรื่อง ลายสกรีนเก๋ ๆ โดน ๆ แล้ว เนื้อผ้าน่าจะสำคัญไม่แพ้กัน โดยเนื้อผ้าที่นำมาทำเสื้อยืดนั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
ประเภทที่ 1 เนื้อผ้าที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ หรือ ผ้าฝ้าย โดยการนำปุยฝ้ายเส้นเล็ก ๆ มาปั่นให้เป็นเส้นด้ายแล้วนำมาทอเป็นผ้าผืน ถ้าใครเคยสังเกตบนป้ายยี่ห้อตรงคอเสื้อยืดหรือที่เย็บตรงตะเข็บข้างเอวก็จะเห็นคำว่า Cotton 100% นั่นคือทำมาจากผ้าฝ้าย 100 % นั่นเอง และเชื่อว่าแทบทุกคนคงเคยใส่เสื้อยืดที่ทำจากผ้า Cotton 100 % ซึ่งเนื้อผ้าประเภทนี้จะให้ความรู้สึกในการสวมใส่สบาย เนื้อผ้านุ่มเนียน ระบายอากาศดี(เนื่องจากเส้นใยมีรูพรุน)ไม่อมเหงื่อแม้อยู่กลางแจ้งในวันที่แดดเปรี้ยง ๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นผ้า Cotton 100 % เกรดดี ซึ่งนี่ถือเป็นข้อดีของเนื้อผ้าชนิดนี้ โดยราคาจะแปรตาม เกรดของเนื้อผ้าส่วนข้อเสีย เวลารีดต้องออกแรงปล้ำกับรอยยับมากกว่าผ้าชนิดอื่นรวมถึงเมื่อซักไปนาน ๆ ผ้าจะเริ่มยืดและย้วยง่ายกว่าผ้าชนิดอื่น
ประเภทที่ 2 เป็นเนื้อผ้าผสมระหว่างเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ (ตัวย่อว่า TC ,CVC, CTC ขึ้นกับเปอร์เซ็นต์การผสมของเส้นด้าย) เนื่องจากกระบวนการผลิตผ้าใยสังเคราะห์นั้นเป็นผลพลอยได้มาจากการกลั่นน้ำมันในอุตสหกรรมปิโตเครมี ซึ่งสามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตในเชิงปริมาณได้ ต่างกับผ้าเส้นใยธรรมชาติที่ต้องพีึ่งผลผลิตจากการปลูกฝ้าย และดินน้ำลมฟ้าอากาศ รวมถึงแมลงที่เป็นศัตรูตัวฉกาจในการทำลายผลผลิต รวมถึงในเรื่องการขนส่ง และกระบวนการในการผลิตเส้นด้ายจากฝ้ายที่มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน จึงทำให้ต้นทุนของผ้า cotton 100 % (เกรดดี ทอด้วยด้ายเส้นเล็ก) สูงกว่า และจุดเด่นของผ้าเนื้อผสมคือเรื่องการควบคุมการยืด(หด)ย้วยจะทำได้ดีกว่า cotton 100 % แต่ข้อเสียที่ติดมาจากใยสังเคราะห์คือจะระบายอากาศได้ไม่ดีเท่า cotton 100 % (ถึงแม้จะทอให้เส้นใยมีรูเล็ก ๆ เพื่อช่วยในการระบายอากาศแล้วก็ตาม) แต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง เส้นด้ายที่นิยมนำมาทอผ้า TC คือเบอร์ 20 และ 32 และ 40 เสื้อยืดที่ผลิตจากผ้าประเภทนี้ ราคาอยู่ในระดับปานกลาง โดยขึ้นกับเบอร์ผ้า และ % การผสมกันระหว่างเส้นใย Cotton 100% และเส้นใยสังเคราะห์ เปอร์เซ็นต์การผสมของผ้า TC ระหว่าง Polyester และ Cotton จะอยู่ที่อัตราส่วน 65% ต่อ 35% และสำหรับเนื้อผ้าผสม CVC จะอยู่ที่ Cotton 70-85% ต่อ Polyester 15-30% ส่วน CTC จะใช้ cotton 70% และเส้นใยสังเคราะห์ 30%
ประเภทที่ 3 เนื้อผ้าใยสังเคราะห์หรือโพลีเอสเตอร์ (ใช้ตัวย่อว่า TK) วัตถุดิบที่นำมาทำผ้าเ้ส้นใยสังเคราะห์ได้มาจากปิโตรเคมี เสื้อยืดที่ทำจากเนื้อผ้าประเภทนี้จะมีราคาถูกที่สุด ข้อดีคือมีความคงสภาพอยู่ทรง ไม่หดไม่ย้วย เนื้อผ้าจะมีความมัน แต่ข้อเสียคือเนื้อผ้าจะระบายอากาศได้น้อยมาก ถ้าใส่อยู่ในที่แดดร้อน ๆ หรืออากาศอบอ้าว จะรู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะคนที่เหงื่อออกง่ายจะยิ่งชุ่มไปด้วยเหงื่อ เนื่องจากเนื้อผ้าดูดซับเหงื่อได้น้อย และเมื่อใส่ไปนาน ๆ (ซักบ่อย ๆ ) เสื้อผ้าจะขึ้นขุย
     รู้อย่างนี้แล้วการเลือกซื้อเสื้อยืดสกรีนลายเก๋ ๆ ในครั้งต่อไปก็อย่าลืมพิจารณาเนื้อผ้าเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วยนะครับ