วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติเสื้อ t-shirts

ทีเชิร์ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Standard T-Shirt

ทีเชิร์ต วิกิพีเดีย
ทีเชิร์ต (อังกฤษ: T-shirt หรือ tee shirt) หรือ เสื้อยืด คือเสื้อที่ส่วนใหญ่จะไม่มีกระดุม ปกเสื้อ และกระเป๋า โดยมีลักษณะคอกลมและแขนสั้น ซึ่งแขนของเสื้อส่วนใหญ่จะไม่เลยข้อศอก ถ้าเกินกว่านั้นจะเรียกเสื้อทีเชิร์ตแขนยาว
เสื้อทีเชิร์ตโดยทั่วไปจะทำจากผ้าฝ้าย หรือ ผ้าใยสังเคราะห์ โดยมากแล้วทีเชิร์ตจะมีการออกแบบลายด้วยตัวหนังสือหรือรูปภาพ และนิยมใส่กันทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งทารก วัยรุ่น และผู้ใหญ่

[แก้] ประวัติ

แนวความคิดการผลิตเสื้อทีเชิร์ตมาจาก ชั้นใน ซึ่งพัฒนามาจากเสื้อชั้นใน เสื้อนั้นมีมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ และค่อยๆ ได้รับความนิยม จนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของทีเชิร์ตก็ได้เกิดขึ้น โดยมีการอ้างสถานที่เกิดอย่างน้อยก็ในแคลิฟอร์เนีย และ สหราชอาณาจักร ในช่วงราวปี 1913 ถึง 1948 ซึ่งในช่วงนั้นได้มีการพัฒนาไปอย่างช้า ๆ

ปกนิตยสารไลฟ์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ขึ้นหน้าปกทหารที่ใส่เสื้อทีเชิร์ต และเขียนข้อความว่า "Air Corps Gunnery School"
จากข้อมูลหลาย ๆ แห่ง มีการอ้างว่า สถานที่ ๆ เป็นต้นกำเนิดแนวความคิดของทีเชิร์ตจริง ๆ เห็นจะเป็นที่สหรัฐอเมริกา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อทหารอเมริกัน ได้สังเกตว่า ทหารยุโรปได้ใส่เสื้อในจากผ้าฝ้ายเบา ขณะที่ทหารอเมริกันเปียกเหงื่อกับชุดที่ทำจากขนสัตว์ ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็ได้เปลี่ยนมาใช้ผ้าฝ้าย ซึ่งสะดวกสบายขึ้นและได้รับความนิยมในหมู่ชาวอเมริกัน เพราะเนื่องจากรูปลักษณ์ของเสื้อจึงได้เรียกว่าเสื้อ ทีเชิร์ต (T-shirt) ที่มาขอชื่อนั้น ไม่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่จะมาจากรูปร่าง ของเสื้อที่มีลัษณะเป็นตัว "T" และชัดเจนขึ้นเมื่อในกองทัพเรียกเสื้อนี้ว่า "training shirt" (เสื้อสำหรับฝึก)
ในปี 1932 ฮาวเวิร์ด โจนส์ขอให้บริษัทผลิตกางเกงในอย่าง จ็อกกี้ ผลิตเสื้อที่ซับเหงื่อสำหรับทีม ยูเอสซี ฟุตบอล ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นทีเชิร์ตยุคใหม่[1] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทีเชิร์ตได้กลายเป็นเสื้อมาตรฐานทั่วไป ในกองทัพสหรัฐอเมริกาและนาวิกโยธิน ถึงแม้ว่าทีเชิร์ตจะเป็นชั้นใน แต่ทหารส่วนใหญ่ก็มักจะใส่โดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอก และด้วยเหตุที่ภาพที่ปรากฏต่อสาธารณะบ่อยขึ้น ที่นายทหารใส่เสื้อทีเชิร์ตกับกางเกงขายาว และเป็นที่ยอมรับทีละน้อย จนเมื่อนิตยสารไลฟ์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ขึ้นหน้าปกทหารที่ใส่เสื้อทีเชิร์ต และเขียนข้อความว่า "Air Corps Gunnery School"[2]
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทีเชิร์ตได้ปรากฏโดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอกคลุม ในปี 1948 ผู้สมัครประธานาธิบดี โธมัส อี. ดีวเวย์ ผลิตเสื้อเชิร์ต "Dew It for Dewey" ขึ้น ได้รับการบันทึกว่าเป็นเสื้อยืดสกรีนตัวหนังสือตัวแรก (ปัจจุบันเก็บไว้อยู่ที่สถาบันสมิทโซเนียนของอเมริกา)[3] และต่อมาในปี 1952 ก็ได้ผลิตทีเชิร์ต "I Like Ike" เพื่อสนับสนุน Dwight D. Eisenhower และจอห์น เวย์น,มาร์ลอน แบรนโด และเจมส์ ดีน ก็ได้ใส่เสื้อตัวนี้ปรากฏตัวในโทรทัศน์ด้วย ซึ่งเป็นที่ตกตะลึงของประชาชน จนกระทั่งในปี 1955 จึงเป็นที่ยอมรับ
ในปัจจุบันเสื้อยืดมักสกรีนข้อความและลวดลายเพื่อให้เหมาะสมกับความเชื่อ รสนิยมของผู้สวมใส่ เช่นเสื้อยืดวงดนตรีต่างๆ และเนื่องจากราคาถูกและสามารถทำได้ง่ายจึงมักทำเป็นของที่ระลึก ของแจกของแถม ของขวัญ เป็นที่ประชาสัมพันธ์ ที่โฆษณา ส่วนข้อความที่ได้รับความนิยมในการเขียนบนทีเชิร์ต เช่น “ฉันหัวใจเอ็นวายซี” รวมถึงลายล้อเลียนต่างๆ ที่ตามมา หรือข้อความ “staying alive” ที่ได้รับความนิยมช่วงหนึ่งในกรุงเทพforklift
เสื้อทีเชิร์ตมีหลายรูปแบบไว่จะเป็นในแบบลวดลายต่างๆเช่น ลายการ์ตูน ลายดอกไม้ ลายรูปดารา ลายธรรมชาติ และอื่นๆอีกมากมายและเป็นที่นิยมในทุกสมัยไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหย่ วัยไหนๆก็สวมใส่ได้เพราะเสื้อยืดจะมีราคาถูกไม่แพงมากนักสามารถหาสวมใส่ได้ง่ายโดยทั่วไป

เสื้อยืดที่ผลิตจากผ้า Cotton 100 % แบ่งเกรดอย่างไร

     ผ้าฝ้าย หรือ cotton 100% ที่นำมาผลิตเสื้อยืดสามารถแบ่งตามเบอร์เส้นด้าย โดยทั่วไปได้ 3 เบอร์ คือ 20,32,40 ตามลำดับ สำหรับเบอร์เส้นด้ายที่สูงเกิน 40 ขึ้นไปจะพบเห็นได้ไม่มากนักในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าที่ต้องสั่งทอขึ้นโดยเฉพาะตามเบอร์ที่ต้องการ เนื่องจากกระบวนการในการผลิต(ปั่นเส้นด้าย)ให้เส้นด้ายมีขนาดเล็กต้องอาศัยเครื่องจักรและการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อน จึงมีต้นทุนที่สูงในการผลิต เมื่อนำมาผลิตเสื้อยืดก็จะมีต้นทุนสูงตามไปด้วย ถ้าเบอร์น้อยจะใช้ด้ายเส้นใหญ่ เบอร์ มากใช้ด้ายเส้นเล็ก เช่นผ้า Cotton 100 % เบอร์ 20 เนื้อผ้าจะมีความหนามากกว่าเบอร์ 32 เนื่องจากขนาดเส้นด้ายที่ใหญ่กว่า โดยทั่วไปผ้า Cotton ที่นิยมนำมาใช้ทำเสื้อยืดและเสื้อโปโล ในราคาระดับปานกลางถึงสูงคือผ้า Cotton 100% เบอร์ 20 (เสื้อยืดสำหรับผู้ชาย) และ 32(เสื้อยืดสำหรับผู้หญิง) ส่วนเบอร์ 40 มักจะนำมาทำเสื้อสำหรับเด็กอ่อน หรือเสื้อที่เน้นความบางเป็นพิเศษ และเสื้อยืดแบรนเนมส์บางรุ่นเบอร์ที่สูงกว่า 40 จะเป็นเสื้อยืดที่ต้องสั่งทอผ้าขึ้นเป็นพิเศษ
     กระบวนการผลิตเส้นด้าย เป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพของเนื้อผ้า เพื่อให้ได้เส้นใยที่มีคุณภาพทั้งในด้านการเรียงตัวของด้ายที่มีความหนาแน่นสม่ำเสมอและกำจัดสิ่งสกปรกแปลกปลอมออกจากเส้นใยเพื่อให้ได้เส้นด้ายที่มีคุณสมบัติที่ดีเมื่อไปทอเป็นผ้าผืน ทำให้สามารถแบ่งเกรดผ้าฝ้ายที่ผ่านกระบวนการผลิตได้ 3 เกรดคือ
     Cotton OE ไม่ผ่านกระบวนการคัีดคุณภาพของเส้นใยฝ้าย เสื้อยืดที่ผลิตจาก cotton ชนิดนี้จะมีความกระด้างกว่าอีกสองประเภทรวมถึงความเหนียวทนต่ำขาดง่าย เป็นผ้า Cotton เกรดต่ำสุด และมีราคาถูกสุด เนื่องจากต้นทุนในการใช้เครื่องจักรและกระบวนการในการผลิตจากเส้นใยฝ้ายเป็นเส้นด้ายมีต้นทุนต่ำที่สุด
     Cotton Semi ผ่านกระบวนผลิตเส้นด้ายโดยวิธีการสางเส้นใยฝ้ายโดยครื่องจักรทำให้ได้ผลผลิตเป็น เส้นด้ายใยสั้น ที่มีขนาดใหญ่ (เบอร์ 20 - 32) และมีความเนียนนุ่มและกระด้างในระดับปานกลาง
     Cotton Comp ผ่านกระบวนผลิตเส้นด้ายโดยวิธีการหวีเส้นใยด้วยเครื่องจักร ซึ่งมีกระบวนที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนกว่าแบบการสาง ทำให้ได้ผลผลิตเป็น เส้นด้ายที่มีขนาดเล็ก (เบอร์ 32 ขึ้นไป) และสามารถขจัดสิ่งสกปรกออกจากเส้นใยได้ในเปอร์เซ็นที่มากกว่า รวมถึงได้เส้นด้ายที่มีเส้นใยที่ยาวกว่า เมื่อนำมาทอเป็นผ้าผืนจึงเป็นผ้า cotton ที่เนื้อดีมีความนุ่ม และ่กระด้างในระดับต่ำ เหนียวทน ขาดยาก มีความมัน

เนื้อผ้าที่ใช้ผลิตเสื้อยืด

     เนื้อผ้าที่นำมาทำเสื้อยืดนั้นมีหลายเกรดหลายราคา รวมถึงคุณสมบัติของเนื้อผ้าก็แตกต่างกัน ก่อนจะซื้อเสื้อยืดหรือสั่งสกรีนเสื้อ นอกจากเรื่อง ลายสกรีนเก๋ ๆ โดน ๆ แล้ว เนื้อผ้าน่าจะสำคัญไม่แพ้กัน โดยเนื้อผ้าที่นำมาทำเสื้อยืดนั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
ประเภทที่ 1 เนื้อผ้าที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ หรือ ผ้าฝ้าย โดยการนำปุยฝ้ายเส้นเล็ก ๆ มาปั่นให้เป็นเส้นด้ายแล้วนำมาทอเป็นผ้าผืน ถ้าใครเคยสังเกตบนป้ายยี่ห้อตรงคอเสื้อยืดหรือที่เย็บตรงตะเข็บข้างเอวก็จะเห็นคำว่า Cotton 100% นั่นคือทำมาจากผ้าฝ้าย 100 % นั่นเอง และเชื่อว่าแทบทุกคนคงเคยใส่เสื้อยืดที่ทำจากผ้า Cotton 100 % ซึ่งเนื้อผ้าประเภทนี้จะให้ความรู้สึกในการสวมใส่สบาย เนื้อผ้านุ่มเนียน ระบายอากาศดี(เนื่องจากเส้นใยมีรูพรุน)ไม่อมเหงื่อแม้อยู่กลางแจ้งในวันที่แดดเปรี้ยง ๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นผ้า Cotton 100 % เกรดดี ซึ่งนี่ถือเป็นข้อดีของเนื้อผ้าชนิดนี้ โดยราคาจะแปรตาม เกรดของเนื้อผ้าส่วนข้อเสีย เวลารีดต้องออกแรงปล้ำกับรอยยับมากกว่าผ้าชนิดอื่นรวมถึงเมื่อซักไปนาน ๆ ผ้าจะเริ่มยืดและย้วยง่ายกว่าผ้าชนิดอื่น
ประเภทที่ 2 เป็นเนื้อผ้าผสมระหว่างเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ (ตัวย่อว่า TC ,CVC, CTC ขึ้นกับเปอร์เซ็นต์การผสมของเส้นด้าย) เนื่องจากกระบวนการผลิตผ้าใยสังเคราะห์นั้นเป็นผลพลอยได้มาจากการกลั่นน้ำมันในอุตสหกรรมปิโตเครมี ซึ่งสามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตในเชิงปริมาณได้ ต่างกับผ้าเส้นใยธรรมชาติที่ต้องพีึ่งผลผลิตจากการปลูกฝ้าย และดินน้ำลมฟ้าอากาศ รวมถึงแมลงที่เป็นศัตรูตัวฉกาจในการทำลายผลผลิต รวมถึงในเรื่องการขนส่ง และกระบวนการในการผลิตเส้นด้ายจากฝ้ายที่มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน จึงทำให้ต้นทุนของผ้า cotton 100 % (เกรดดี ทอด้วยด้ายเส้นเล็ก) สูงกว่า และจุดเด่นของผ้าเนื้อผสมคือเรื่องการควบคุมการยืด(หด)ย้วยจะทำได้ดีกว่า cotton 100 % แต่ข้อเสียที่ติดมาจากใยสังเคราะห์คือจะระบายอากาศได้ไม่ดีเท่า cotton 100 % (ถึงแม้จะทอให้เส้นใยมีรูเล็ก ๆ เพื่อช่วยในการระบายอากาศแล้วก็ตาม) แต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง เส้นด้ายที่นิยมนำมาทอผ้า TC คือเบอร์ 20 และ 32 และ 40 เสื้อยืดที่ผลิตจากผ้าประเภทนี้ ราคาอยู่ในระดับปานกลาง โดยขึ้นกับเบอร์ผ้า และ % การผสมกันระหว่างเส้นใย Cotton 100% และเส้นใยสังเคราะห์ เปอร์เซ็นต์การผสมของผ้า TC ระหว่าง Polyester และ Cotton จะอยู่ที่อัตราส่วน 65% ต่อ 35% และสำหรับเนื้อผ้าผสม CVC จะอยู่ที่ Cotton 70-85% ต่อ Polyester 15-30% ส่วน CTC จะใช้ cotton 70% และเส้นใยสังเคราะห์ 30%
ประเภทที่ 3 เนื้อผ้าใยสังเคราะห์หรือโพลีเอสเตอร์ (ใช้ตัวย่อว่า TK) วัตถุดิบที่นำมาทำผ้าเ้ส้นใยสังเคราะห์ได้มาจากปิโตรเคมี เสื้อยืดที่ทำจากเนื้อผ้าประเภทนี้จะมีราคาถูกที่สุด ข้อดีคือมีความคงสภาพอยู่ทรง ไม่หดไม่ย้วย เนื้อผ้าจะมีความมัน แต่ข้อเสียคือเนื้อผ้าจะระบายอากาศได้น้อยมาก ถ้าใส่อยู่ในที่แดดร้อน ๆ หรืออากาศอบอ้าว จะรู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะคนที่เหงื่อออกง่ายจะยิ่งชุ่มไปด้วยเหงื่อ เนื่องจากเนื้อผ้าดูดซับเหงื่อได้น้อย และเมื่อใส่ไปนาน ๆ (ซักบ่อย ๆ ) เสื้อผ้าจะขึ้นขุย
     รู้อย่างนี้แล้วการเลือกซื้อเสื้อยืดสกรีนลายเก๋ ๆ ในครั้งต่อไปก็อย่าลืมพิจารณาเนื้อผ้าเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วยนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น