วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนในประเทศไทย

พัฒนาการของอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีน
การพิมพ์ซิลค์สกรีนเริ่มต้นที่ประเทศจีน เมื่อประมาณ 2000 ปี โดยหลักการที่เป็นตรรกของสามัญสำนึก (COMMONSENSE) ขั้นพื้นฐาน ในการคิดค้นวิธีการพิมพ์ที่กำหนดให้ หมึกพิมพ์โดนปาดผ่านผ้า (สมัยก่อนเป็นผ้าไหม) ซึ่งขึงตึงบนกรอบ (สดึง) โดยมีการกำหนดลวดลายที่ต้องการพิมพ์ด้วยรูผ้าที่เปิดเพื่อให้หมึกพิมพ์ไหลผ่านลงสู่วัสดุพิมพ์เป็นลวดลายที่ต้องการและรูผ้าปิดเพื่อป้องกันหมึกพิมพ์ไหลผ่านจากวันนั้นถึงวันนี้ หลักการดังกล่าวข้างต้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่การพิมพ์ซิลค์สกรีนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยชาติตะวันตก เช่น ยุโรป อเมริกาได้นำหลักการพิมพ์สกรีนไปพัฒนาให้เป็นกระบวนการพิมพ์เชิงอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ 200 ปี และในระยะ 30-40 ปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มพัฒนาการพิมพ์สกรีนเพิ่มมากขึ้น สำหรับประเทศจีนในปัจจุบันมีการพัฒนาการพิมพ์สกรีนอย่างเร่งด่วนเช่นเดียวกับประเทศไทยและเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ผมขอกล่าวถึงการพัฒนา 3 ประการของอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนคือ 1) วัสดุอุปกรณ์การพิมพ์สกรีน 2) กระบวนการพิมพ์สกรีน 3) การประยุกต์กระบวนการพิมพ์สกรีน เพื่อการผลิตสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์สกรีน วัสดุอุปกรณ์การพิมพ์และกระบวนการพิมพ์สกรีนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น แม่พิมพ์สกรีนที่พัฒนาจากกรอบไม้ไปสู่กรอบโลหะด้วยรูปทรงที่มีทั้งตรง โค้ง วงรี ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับวัสดุพิมพ์ (SUBSTRATE) ผ้าสกรีนที่เดิมเป็นผ้าไหมได้เปลี่ยนเป็นผ้า NYLON, POLYESTER บางกรณีเป็นแผ่นที่ถักด้วยเส้นทองแดงหรือเส้น STANLESS STEEL ให้มีรูเปิด-ปิดเหมือนผ้าสกรีนเพื่อการพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ ดังนั้นคำว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีนจึงเปลี่ยนเป็น การพิมพ์สกรีน เพราะเราไม่ได้ใช้ผ้าไหมเป็นผ้าสกรีนอีกต่อไป ผ้า NYLON และ POLYESTER มีหลายประเภทจากหนาถึงบาง ด้วยรูผ้าหยาบถึงละเอียดมากและมีสีขาว สีเหลืองและสีแดงเพื่อการรับแสงในการสร้างแม่พิมพ์สกรีนที่แตกต่างกันการสร้างแม่พิมพ์สกรีนเพื่อกำหนดรูเปิดและรูปิดของผ้าสกรีน มีวิธีการคล้ายกับ STENCIL ที่มีการเจาะกระดาษแข็งให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือลวดลาย แล้วพ่นด้วยสีสเปร์ยให้ผ่านไปติดบนวัสดุพิมพ์ แต่การสร้างแม่พิมพ์สกรีนมีวิธีการเพิ่มมากขึ้นเพื่อการสร้างสรรค์งานหลากหลายประเภทโดยในปัจจุบันนิยมใช้ฟิล์มส้ม ฟิล์มเขียวสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ละเอียดมากนักและฟิล์มม่วง ฯลฯ สำหรับงานพิมพ์ที่ละเอียดมากขึ้นหรือการสร้างแม่พิมพ์ด้วยกาวอัด (EMULSION) ที่มีการออกแบบโครงสร้าง POLYMER เพื่อการพิมพ์ตั้งแต่หยาบถึงละเอียดมากเคมีภัณฑ์เพื่อการสร้างแม่พิมพ์สกรีนได้มีการพัฒนาเพื่อลดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับหมึกพิมพ์สกรีนที่มีแนวโน้มของการเป็นหมึกพิมพ์ WATERBASE ที่ NON TOXIC หรือหมึกพิมพ์ UV เพื่อการลดมลพิษเช่นเดียวกัน ซึ่งนับเป็น SAFETY FACTOR สำคัญของการพิมพ์สกรีนหมึกพิมพ์สกรีนมีการออกแบบให้มีความพิเศษพิสดาร ทั้งที่เป็นแบบ FUNCTION และแบบ DECORATION เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนญี่ปุ่นซึ่งมีการพัฒนาหมึกพิมพ์สกรีนที่ก้าวหน้ามากที่สุดในปัจจุบัน ยางปาดสกรีนเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปาดหมึกพิมพ์ ซึ่งต้องเสียดสีกับผ้าสกรีนตลอดเวลา ทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่าย สมัยก่อนยางปาดสกรีนทำจากยางธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันวัสดุ POLYURETHANE ได้ถูกนำมาทำยางปาดที่มีรูปตัดแตกต่างตามประเภทการใช้งานเพื่อเพิ่มหรือลด INK DEPOSIT ซึ่งต้องสัมพันธ์กับขนาดรูเปิดของผ้าสกรีน การขึงผ้าสกรีนบนกรอบให้ตึงสม่ำเสมอ ในอดีตเป็นการขึงโดยใช้มือดึงผ้าสกรีนซึ่งมักประสบปัญหาเรื่องแรงตึงผ้าสกรีนไม่สม่ำเสมอเมื่อกรอบมีขนาดใหญ่ แต่ปัญหาดังกล่าวได้มีการแก้ไขโดยเครื่องมือที่เป็นระบบแมคคานิคไปจนถึงระบบนิวเมติคที่ควบคุมความตึงของผ้าสกรีนได้อย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นกรอบสกรีนเล็ก กลาง ใหญ่ การสร้างแม่พิมพ์ที่เริ่มจากการใช้แสงแดดกลางแจ้งต่อมาเปลี่ยนเป็นการสร้างแม่พิมพ์ในห้องมืดด้วยตู้ไฟนีออนจนพัฒนามาเป็นไฟอาร์ค ไฟเมทาลฮาไลด์ ไฟซีนอนและไฟเมอคิวรีที่มีเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งประกอบเป็นอุปกรณ์ที่มีการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิคอย่างแม่นยำสามารถคำนวณระยะเวลาการส่องแสง (EXPOSURE TIME) พร้อมแจ้งค่าความสว่างของหลอดไฟหรือต้นกำเนิดแสง เพื่อการปรับระยะห่างจากต้นกำเนิดแสงและแม่พิมพ์สกรีน เครื่องสร้างแม่พิมพ์สกรีนรุ่นใหม่ที่เป็นระบบ AUTOMATIC โดยการนำแม่พิมพ์เข้าไปในตู้ที่เป็นแถวยาวซึ่งมีระบบการล้างแม่พิมพ์ การปาดกาว การฉายแสง การล้างแม่พิมพ์ที่สามารถสร้างแม่พิมพ์ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว อุปสรรคของการทำแม่พิมพ์สกรีนขนาดใหญ่ซึ่งต้องมี POSITIVE FILM ขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้มีการคิดค้นการใช้ FILM ขนาดเล็กฉายผ่านไฟแรงสูงด้วยแว่นขยายตรงสู่แม่พิมพ์สกรีน ทำให้ประหยัดค่า FILM ไปได้มากและสะดวกในการสร้างแม่พิมพ์สกรีน ขณะนี้เครื่องสร้างแม่พิมพ์ COMPUTER TO SCREEN (CPS) ที่ใช้ระบบ INKJET พ่นกาวอัดลงบนแม่พิมพ์สกรีนเพื่อการสร้างแม่พิมพ์สกรีนกำลังเป็นที่กล่าวขวัญของชาวสกรีน และนำไปสู่ระบบ FILMLESS ด้วย COMPUTER การพัฒนาเครื่องพิมพ์สกรีนทั้งแบบ SEMI-AUTO และ AUTOMATIC ซึ่งแต่ก่อนมักจะมีปัญหาเรื่องฉากพิมพ์ (REGISTRATION) ที่คลาดเคลื่อนเมื่อมีการพิมพ์หลายสีเพราะวัสดุพิมพ์มีการขยับตัวหรืออาจจะยืด-หดตัวเพราะความชื้นในอากาศที่เปลี่ยนแปลง แต่ในปัจจุบันเครื่อง ELECTRONIC EYE ซึ่งสามารถจัดฉากอย่างรวดเร็วและแม่นยำให้ทุกครั้งก่อนพิมพ์ โดยการปรับแม่พิมพ์และแท่นพิมพ์ให้สัมพันธ์กัน เครื่องพิมพ์สกรีนได้มีการพัฒนาให้มีความเร็วในการพิมพ์เพิ่มมากขึ้น ทั้งระบบ FLATBED, CYLINDER, ROTARY และด้วยการติดตั้งเครื่องอบแห้งยูวี ทำให้การพิมพ์สีต่อเนื่องหลายสีหรือการพิมพ์สีชุด (PROCESS COLOUR) สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การตั้งเครื่องพิมพ์สกรีนและเครื่องอบแห้งเรียงกันโดยตั้งอยู่บนรางหรืออุปกรณ์ยึดติดกับพื้นให้ต่อกันเป็นแถวยาวทำให้การทำงานสะดวกและสามารถควบคุมได้โดยง่าย สำหรับเครื่องพิมพ์สกรีนขนาดใหญ่ที่มีความยาว 20-30 เมตรอาจมีช่างควบคุม 2-3 คนเท่านั้นและด้วยการออกแบบเครื่องพิมพ์สกรีนลักษณะ PLUG IN / PLUG OUT ทำให้ช่างสามารถเพิ่มหรือลดหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องพิมพ์สกรีนได้อย่างสะดวก ปัจจุบันเครื่องพิมพ์สกรีนและเครื่องอบแห้ง AUTOMATIC ประเภท FLATBED สามารถพิมพ์ SUBSTRATE แผ่นเรียบขนาด 165 x 325 ซม. ด้วยสีชุด (4 สี) และสีพิเศษ (1 สี) ด้วยความเร็ว 850 แผ่น / ชั่วโมง เครื่องพิมพ์เสื้อยืด AUTOMATIC ที่ออกแบบให้มีแท่นพิมพ์ 18 แท่น เรียงเป็นวงกลมพร้อมเครื่องอบแห้งอินฟราเรด โดยสามารถพิมพ์เสื้อยืด 4 สีได้ประมาณ 800-1000 ตัว/ชั่วโมงด้วยความปราณีตสวยงาม กระบวนการหลังพิมพ์คือ การตากแห้งแบบ AIR DRY ไปจนถึงการอบแห้งด้วยไฟฟ้า อินฟราเรด และยูวีได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและคาดว่าการอบแห้งด้วยระบบไมโครเวฟจะเป็นการพัฒนาขั้นต่อไป ซึ่งวิธีการอบแห้งต่างๆสามารถทำให้การติดยึดของหมึกพิมพ์บนวัสดุพิมพ์เพิ่มมากขึ้น วัสดุพิมพ์ (SUBSTRATE) สำหรับการพิมพ์สกรีนมีหลากหลายประเภท ข้อสังเกตคือวัสดุพิมพ์ประเภทกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์สกรีนอาจมีอัตราส่วนน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการพิมพ์ OFFSET เพื่อผลิตหนังสือ สมุด ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามการพิมพ์สกรีนใช้กระดาษในการพิมพ์ป้ายโฆษณา-POINT OF SALE, นามบัตร, บรรจุภัณฑ์บางประเภท, กระดาษทรานสเฟอร์เซรามิค, ฉลาก, สติกเกอร์ ฯลฯ วัสดุพิมพ์อื่นๆที่การพิมพ์สกรีนใช้คือ ผ้า, แผ่นพลาสติก, แผ่นลูกฟูกพลาสติก, แก้ว, โลหะ, บรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ฯลฯ ปัจจุบันการคิดค้นวัสดุพิมพ์โดยเฉพาะพลาสติกที่เรียกกันว่า NEO FUNCTIONAL FILM ที่มีหลายประเภทและคุณสมบัติ และบางประเภทสามารถประยุกต์ใช้กับ DISPLAY PANEL ด้วยการพิมพ์สกรีน
วัสดุอุปกรณ์และกระบวนการพิมพ์สกรีนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน
โดยเฉพาะในระยะ 30-40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดลักษณะเด่นของการพิมพ์สกรีนคือ
STTS อันได้แก่ S=SIZE
ที่สามารถพิมพ์ได้หลากหลายขนาดตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่ประมาณ 2 x 5 เมตร
T=TEXTURE ที่สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์ที่มีผิวเรียบ/ขรุขระ/หยาบ/มัน/ด้าน ฯลฯ
T=THICKNESS ที่สามารถกำหนด INK DEPOSIT
ให้มีความหนาบางได้โดยการกำหนดปริมาณหมึกและขนาดรูผ้าของแม่พิมพ์ S=SHAPE
ที่สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์ซึ่งเป็นแผ่นเรียบ/โค้ง/รี/ทรงกลม/แก้ว/ภาชนะ ฯลฯ

ดังคำกล่าว ?เช้า สาย บ่าย ค่ำเราท่านแวดล้อมด้วยสิ่งพิมพ์สกรีน?
ด้วยเหตุที่การพิมพ์สกรีนสามารถพิมพ์ได้บนวัสดุพิมพ์มากมายจนบางท่านบอกว่า
ยกเว้นอากาศและน้ำ (แต่น้ำแข็งสามารถพิมพ์สกรีนได้)
การพิมพ์สกรีนสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้า 18 ประเภทธุรกิจคือ 1. ผ้า 2.
เซรามิค ? แก้ว ? หม้อเคลือบ 3. สิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณา 4. ป้ายชื่อ 5.
ป้ายสัญญาณ 6. ฉลากสินค้า 7. บรรจุภัณฑ์ 8. ของเล่น 9. ของขวัญ 10.
บัตรพลาสติก 11. แผ่น ซี. ดี. 12. อุปกรณ์กีฬา 13. อุปกรณ์ยานยนต์ 14.
อุปกรณ์ไฟฟ้า 15. แผงวงจรไฟฟ้า 16. เมมเบรนสวิช 17.
วัสดุอุปกรณ์การพิมพ์สกรีน 18. อื่นๆ
(กรณีที่ประเภทสินค้าไม่สามารถจัดเข้าได้ใน  17 ประเภท)
สินค้าบางประเภทเช่น แผ่น PCB จะเป็นการพิมพ์ลักษณะ FUNCTION สินค้าบางประเภท
เช่น บรรจุภัณฑ์, ของเล่นจะเป็นการพิมพ์ลักษณะ DECORATION สินค้าบางประเภทเช่น
แผ่นโฆษณา DISPLAY PANEL รุ่นใหม่ที่หมึกพิมพ์เป็นทั้ง FUNCTION และ DECORATION
โดยเป็นสื่อให้กระแสไฟฟ้าแรงต่ำ ทำให้เกิดแสงสว่างเพื่อการโฆษณารูปแบบใหม่
หรือการพิมพ์ภาพ 3D ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ด้วยเทคนิคการพิมพ์สกรีนที่เป็นทั้งวิธี DIRECT และ INDIRECT
ซึ่งสร้างความยืดหยุ่นในการผลิตสินค้า ฯลฯ DIRECT คือพิมพ์ตรงบนวัสดุพิมพ์ และ
INDIRECT คือการพิมพ์กระดาษ TRANSFER เพื่อนำไปแปะติดผลิตภัณฑ์ เช่น ถ้วย
CERAMIC ในปัจจุบันวิธีการ IMD (IN MOULD DECORATION) ที่นำแผ่น TRANSFER
ซึ่งพิมพ์สกรีนเข้าไปอยู่ใน MOULD ตอนฉีดบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ทำให้ภาพพิมพ์ฝังตัวอยู่ในบรรจุภัณฑ์ก่อให้เกิดความงามที่ปราณีตและทนทาน

การพิมพ์สกรีนก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้า โดยประมาณการว่า PRINT AREA
ที่คิดเป็นอัตราส่วนต่อขนาดของวัสดุพิมพ์มีความแตกต่างกันในสินค้าดังต่อไปนี้
1. ผ้า 70% 2. เซรามิค?แก้ว?หม้อเคลือบ 20% 3. สิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณา
50% 4. ป้ายชื่อ 50% 5. ป้ายสัญญาณ 50% 6. ฉลากสินค้า 50% 7. บรรจุภัณฑ์ 20%
8. ของเล่น 30% 9. ของขวัญ 30% 10. บัตรพลาสติก 70% 11. แผ่น ซี. ดี. 70%
12. อุปกรณ์กีฬา 10%  13. อุปกรณ์ยานยนต์ 3% 14. อุปกรณ์ไฟฟ้า 5% 15.
แผงวงจรไฟฟ้า 70% 16. เมมเบรนสวิช 70%

คำถามที่ว่าการพิมพ์ INKJET
จะมาแทนที่การพิมพ์สกรีนหรือไม่? คำถามเช่นเดียวกันว่าการพิมพ์ PAD
จะมาแทนที่การพิมพ์สกรีนหรือไม่?
กระบวนการพิมพ์ทั้งสองจะเป็นอุปสรรคของชาวสกรีนหรือไม่?
คำตอบคือเมื่อเราพิจารณาสินค้าทั้ง 18
ประเภทดังกล่าวข้างต้นซึ่งในปัจจุบันกระบวนการพิมพ์ทั้งสองมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าบางประเภทเช่น
การโฆษณาสำหรับ INKJET และบรรจุภัณฑ์, ของขวัญ สำหรับ PAD
แม้ว่าจะมีการพัฒนากระบวนการพิมพ์ทั้งสองเพิ่มมากขึ้นเพื่อการพิมพ์สินค้าประเภทอื่นๆ
ซึ่งดูเหมือนเป็นการแข่งขันกับการพิมพ์สกรีนแต่อันที่จริงชาวสกรีนไทยพิจารณาว่าเป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรค
ด้วยเหตุนี้ ชาวสกรีนไทยหลายท่านได้ผนวกกระบวนการพิมพ์ SCREEN ? PAD ? INKJET
เข้าด้วยกัน
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการสร้างสรรค์สินค้าได้หลากหลายประเภทมากขึ้นในลักษณะ
COMPLETE SERVICE

การพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนไทยอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 40
ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ศักยภาพในการผลิตสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์สกรีน
(หรือที่เรียกว่าสินค้า 18 ประเภท) ของชาวสกรีนไทยเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะฝีมือของชาวสกรีนไทยที่ปราณีตและประยุกต์เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิค แต่เรายังต้องมุ่งพัฒนาต่อไปในเรื่องของ KNOW HOW และ TECHNOLOGY
เพื่อเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่น
การที่ภาครัฐส่งเสริมการลงทุน (BOI)
จากบริษัทต่างชาติของอุตสาหกรรมประเภทต่างๆในประเทศไทยก่อให้เกิดงานพิมพ์สกรีนเพิ่มมากขึ้นในลักษณะ
SUPPORTING INDUSTRY-การจ้างพิมพ์
ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสแก่ชาวสกรีนไทยในการพิมพ์สกรีนเพื่อภาคอุตสาหกรรม
ด้วยแนวคิดในการสร้างสินค้ามูลค่าเพิ่ม
โดยพัฒนาจากสินค้าประเภทประโยชน์ใช้สอยทั่วไป (GENERAL PURPOSE PRODUCT)
เป็นสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (HIGH VALUE-ADDED PRODUCT) ด้วย KNOW HOW และ
TECHNOLOGY ขั้นสูง ซึ่งการพิมพ์สกรีนสามารถมีส่วนส่งเสริมแนวคิดดังกล่าวได้
ดังนั้นประเด็นสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนไทยจากการรับจ้างพิมพ์ไปสู่การสร้างงานพิมพ์และ/หรือการรับจ้าง+สร้างงานพิมพ์ด้วยการออกแบบ
วิจัยและค้นคว้าร่วมกันระหว่างฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต (พิมพ์)
และฝ่ายการตลาด-ขาย-บริการของทั้งสินค้า 18 ประเภท
เพื่อการส่งเสริมมาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น ทั้งในเรื่องรสนิยม การสร้างสรรค์
เทคโนโลยีการพิมพ์และการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ส่งเสริมให้เป็นสินค้าที่สามารถแข่งขันในตลาดโลก
ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้การพิจารณากำหนดมาตรฐานสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์สกรีนไทย
(หรือที่เรียกว่าสินค้าทั้ง 18 ประเภท) นับเป็นความสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ
เช่นเดียวกับการพิจารณากำหนดมาตรฐานผู้ประกอบการพิมพ์สกรีนไทย
และการพิจารณากำหนดมาตรฐานสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย
ซึ่งนับเป็นพันธกิจสำคัญของสมาคมการพิมพ์สกรีนไทยร่วมกับสมาชิกสมาคมฯและบุคลากรในอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น