วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของเสื้อยืด

 สมัยก่อนคนอเมริกันกับคนฝรั่งเศสเคยเถียงกันว่า ใครกันหนอที่เป็นคนทำให้เสื้อยืดแพร่หลาย ฝั่งอเมริกันก็บอกว่าเขานี่แหละที่ทำให้เสื้อยืดเป็นที่รู้จัก เพราะอุตสาหกรรมหนังและเพลง แต่ฝรั่งเศสก็บอกว่าเขาต่างหากที่เป็นต้นไอเดียเสื้อชั้นในของผู้ชายที่ทหาร จีไอเอาไปเลียนแบบ จนกลายมาเป็นเสื้อยืดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเถียงกันอย่างไรคงไม่มีใครมานั่งสนใจว่าใครจะเป็นคนคิดก่อน เพราะเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็มีและใส่เสื้อยืดกันทั้งนั้น
                            เสื้อยืดเริ่มเป็นที่ยอมรับในวงกว้างจริงๆ นั้น มาจากวัฒนธรรมของอเมริกันโดยแท้ ในยุคทศวรรษ 1950 เริ่มมีการใส่เสื้อยืดกันเดินตามท้องถนน หนังเรื่อง Street Car Name Desire นำแสดงโดยมาร์ลอน แบรนโดที่ออกฉายในปี 1951 และ Rebel Without a Cause นำแสดงโดยเจมส์ ดีน ในปีค.ศ.1955 ตอกย้ำภาพของคนรุ่นใหม่กับเสื้อยืดสีขาว กางเกงยีนส์รัดรูปเปรี๊ยะ ทำเอาใครต่อใครแต่งตัวเลียนแบบดารากันเป็นแถว  แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี เสื้อยืดก็ยังเป็นแฟชั่นที่ดูไม่สุภาพ “โดย ส่วนตัวผมเห็นว่าเสื้อยืดก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถใส่ได้ทุกโอกาส ไม่ว่าจะมีคอวี มีปกหรือคอกลมก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าใส่ไม่ได้ บางงานหากไม่ต้องการอะไรที่เป็นทางการมาก เสื้อยืดแฟชั่นทับด้วยเบลเซอร์สักตัว ก็ดูดีได้” เสื้อยืดแม้ว่าจะสะดวกสบายสวมใส่ง่าย แต่ก็ ‘ไม่ควรจะง่ายทุกโอกาส’
                               ยุคเริ่มแรกของการเกิดทีเชิ้ตคงไม่แตกต่างจากหนังมากนัก ในแง่ที่ว่า เสื้อยืดเป็นตัวแทนของการต่อต้านสังคม ความรู้สึกของ ‘ความไม่สุภาพ’ ของเสื้อยืดนั้นก็ยังติดตัวมันอยู่จนถึงทุกวันนี้ และที่สำคัญเสื้อยืดสามารถสะท้อนความคิดและบุคลิกของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี   ถามว่าเราดูคนจากรองเท้าที่ใส่ได้ไหม ก็ได้ครับ แต่ว่าเสื้อยืดราคาถูกกว่าหาซื้อง่ายกว่า ฉะนั้นผมเชื่อว่า ถ้าเราอยากจะรู้จักวัยรุ่นสักคนในสมัยนี้ ต้องดูที่เสื้อยืดที่เขาใส่ ดูคำดูรูปที่อยู่บนเสื้อ เราก็จะรู้ได้ประมาณหนึ่งว่าเขาเป็นคนอย่างไร  มันเป็นภาพสะท้อนความคิดของคนๆ หนึ่งที่ต้องการสื่อความคิดของตัวเองได้ดีมาก
                                เสื้อเชิ้ตเป็นเหมือนผ้าใบสีขาวที่รอคนมาเติมสีแต่ดีกว่าตรงที่เราใส่มันไปไหนมาไหนได้ ในยุคทศวรรษ 1960-1970 ยุค ที่ดนตรีร็อคทรงอิทธิพลอย่างมาก วงดนตรีต่างๆ นำเอาเสื้อยืดมาสกรีนลาย ขายเป็นของที่ระลึกยามที่ออกทัวร์คอนเสิร์ต หรือใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งหน้าที่ระหว่างคนดูกับทีมงานอย่างได้ผล เสียดายที่ไม่มีการจดบันทึกไว้ว่าใครเป็นคนริเริ่มทำ
                                  หลายๆ วงดนตรีขายเสื้อยืดได้พอๆ กับยอดขายอัลบั้มไปแล้วครับ อย่าง The Beatles หากว่า นับเอาจำนวนเสื้อที่เขาขายได้ทั้งหมด ทั้งละเมิดลิขสิทธิ์และถูกกฎหมายแล้วล่ะก็ เผลอๆ ยอดขายอาจไม่ได้น้อยไปกว่ายอดอัลบั้มที่พวกเขาสามารถขายได้   ยุคแรกๆ ของทีเชิ้ตที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการดนตรี ส่วนมากเป็นเสื้อของวงร็อคเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เดอะ โรลลิ่งสโตน (The Rolling Stone) เลด เซปลิน (Led Zeplin) บ๊อบ มาร์เลย์ (Bob Marley) จิมมี่ เฮ็นดริกซ์ (Jimmy Hendrix) ที เชิ้ตสกรีนลายสัญลักษณ์ของวงบางวง กลายเป็นลายคลาสสิคที่ดีไซเนอร์หลายคนหยิบจับมาใช้จนทุกคนจำได้ ไม่ว่าจะเป็นลายปากแลบลิ้นของ เดอะ โรลลิ่งสโตน หรือว่ามงกุฎและลายธงชาติอังกฤษที่เรามักเห็นคู่กับวงเดอะเซ็กซ์ พิสทอลและวิเวียน เวสต์วู้ด (Vivienne Westwood)
                                     ว่าไปแล้วเธอก็เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการผสมผสานระหว่างแฟชั่นและดนตรีเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ยุคแรก การเปลี่ยนชื่อร้านของเธอจาก ‘Let it Rock’ มาเป็น ‘Too Fast to Live Too young to Die’ สะท้อน ความคิดที่ได้รับมาจากฮิปปี้และดนตรีร็อคโดยตรง การเข้าไปมีส่วนสำคัญของการดังเป็นพลุแตกของเดอะเซ็ก พิสตอล ที่สามีของเธอขณะนั้น (มัลคอม แมคลาเรน-Malcom McLaren) เป็นผู้จัดการวง ทำให้ภาพลักษณ์ของวิเวียน เวสต์วู้ดไม่เคยหลุดอกจากความเป็นพังค์ที่กอดเกี่ยวกับดนตรีอย่างแยกไม่ออก
                                       ดนตรี และแฟชั่นก็ไม่เคยห่างกัน บางครั้งดนตรีและนักดนตรีก็เป็นตัวกำหนดรูปแบบของแฟชั่นของแต่ละยุคแต่ละ สมัยไปโดยปริยาย และทีเชิ้ตก็ไม่เคยหลุดเทรนด์ หลังๆ คุณคงเริ่มสังเกตว่าทีเชิ้ตไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่วงร็อคเท่านั้น ทีเชิ้ตรัดติ้วแบบที่ริกกี้ มาร์ตินใส่ก็ทำให้คนฮิตกันไปทั่ว หรือทีเชิ้ตสกรีนตัวหนังสือ ‘Britney Spear’ ที่แปะอยู่บนเสื้อของมาดอนน่า ทำเอาใครต่อใครต้องหามาใส่ เสื้อยืดเป็นตัวบอกรสนิยมอย่างจงใจ
                                        หลังยุคทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา เสื้อผ้ายี่ห้อดังต่างๆ เริ่มหันมาสนใจกับตลาดทีเชิ้ตแบบที่นิยมมากในยุคนั้นก็คือทีเชิ้ตสีขายสกรีนโลโก้ปะติดกลางหน้าอก คาลวิน ไคลน์ เป็นตลาดไฮแบรนด์เจ้าแรกๆ ที่ทำให้เกิดกระแสนี้จนกระทั่งลามไปถึงเจ้าอื่นๆ แต่ตอนนี่ทีเชิ้ตสุดฮิตในหมู่นักร้องและศิลปินของอเมริกาไม่มีทีเชิ้ตไหน เกิน anti-bush-t-shirt ที่ขายอยู่ในเว็บไซท์ www.bant-shirt.com ไป ได้ เพราะก่อตั้งโดยจุดประสงค์เพื่อต้องการรณรงค์และต่อต้านความไม่ชอบธรรมของ ท่านผู้นำที่ปิดหูปิดตาประชาชน แล้วทำตัวเหมือนพระเจ้าที่ชี้นิ้วกำหนดทุกอย่าง ในเว็บไซท์นี้จึงมีเสื้อยืดต่อต้านการเมือง รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม และทีเชิ้ตส่งเสริมมนุษยชน  ใครเห็นแล้วอยากทำล้อเลียนผู้นำบางประเทศก็ไม่น่าจะผิดแต่ประการใด
                                           แนวความคิดการผลิตเสื้อทีเชิร์ตมาจาก ชั้นใน ซึ่งพัฒนามาจากเสื้อชั้นใน เสื้อนั้นมีมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ และค่อยๆ ได้รับความนิยม จนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของทีเชิร์ตก็ได้เกิดขึ้น โดยมีการอ้างสถานที่เกิดอย่างน้อยก็ในแคลิฟอร์เนีย และ สหราชอาณาจักร ในช่วงราวปี 1913 ถึง 1948 ซึ่งในช่วงนั้นได้มีการพัฒนาไปอย่างช้า ๆ
จากข้อมูลหลาย ๆ แห่ง มีการอ้างว่า สถานที่ ๆ เป็นต้นกำเนิดแนวความคิดของทีเชิร์ตจริง ๆ เห็นจะเป็นที่สหรัฐอเมริกา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อทหารอเมริกัน ได้สังเกตว่า ทหารยุโรปได้ใส่เสื้อในจากผ้าฝ้ายเบา ขณะที่ทหารอเมริกันเปียกเหงื่อกับชุดที่ทำจากขนสัตว์ ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็ได้เปลี่ยนมาใช้ผ้าฝ้าย ซึ่งสะดวกสบายขึ้นและได้รับความนิยมในหมู่ชาวอเมริกัน เพราะเนื่องจากรูปลักษณ์ของเสื้อจึงได้เรียกว่าเสื้อ ทีเชิร์ต (T-shirt) ที่มาขอชื่อนั้น ไม่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่จะมาจากรูปร่าง ของเสื้อที่มีลัษณะเป็นตัว "T" และชัดเจนขึ้นเมื่อในกองทัพเรียกเสื้อนี้ว่า "training shirt" (เสื้อสำหรับฝึก)
                                             ในปี 1932 ฮาวเวิร์ด โจนส์ขอให้บริษัทผลิตกางเกงในอย่าง จ็อกกี้ ผลิตเสื้อที่ซับเหงื่อสำหรับทีม ยูเอสซี ฟุตบอล ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นทีเชิร์ตยุคใหม่ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทีเชิร์ตได้กลายเป็นเสื้อมาตรฐานทั่วไปในกองทัพสหรัฐอเมริกาและนาวิกโยธิน ถึงแม้ว่าทีเชิร์ตจะเป็นชั้นใน แต่ทหารส่วนใหญ่ก็มักจะใส่โดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอก และด้วยเหตุที่ภาพที่ปรากฏต่อสาธารณะบ่อยขึ้น ที่นายทหารใส่เสื้อทีเชิร์ตกับกางเกงขายาว และเป็นที่ยอมรับทีละน้อย จนเมื่อนิตยสารไลฟ์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ขึ้นหน้าปกทหารที่ใส่เสื้อทีเชิร์ต และเขียนข้อความว่า "Air Corps Gunnery School"
                                             หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทีเชิร์ตได้ปรากฏโดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอกคลุม ในปี 1948 ผู้สมัครประธานาธิปดี โธมัส อี. ดีวเวย์ ผลิตเสื้อเชิร์ต "Dew It for Dewey" ขึ้น ได้รับการบันทึกว่าเป็นเสื้อยืดสกรีนตัวหนังสือตัวแรก (ปัจจุบันเก็บไว้อยู่ที่สถาบันสมิทโซเนียนของอเมริกา) และต่อมา ในปี 1952 ก็ได้ผลิตทีเชิร์ต "I Like Ike" เพื่อสนับสนุน Dwight D. Eisenhower และจอห์น เวย์น,มาร์ลอน แบรนโด และเจมส์ ดีน ก็ได้ใส่เสื้อตัวนี้ปรากฏตัวในโทรทัศน์ด้วย ซึ่งเป็นที่ตกตะลึงของประชาชน จนกระทั่งในปี 1955 จึงเป็นที่ยอมรับ
                                              ในปัจจุบันเสื้อยืดมักสกรีนข้อความและลวดลายเพื่อให้เหมาะสมกับความเชื่อ รสนิยมของผู้สวมใส่ เช่นเสื้อยืดวงดนตรีต่างๆ และเนื่องจากราคาถูกและสามารถทำได้ง่ายจึงมักทำเป็นของที่ระลึก ของแจกของแถม ของขวัญ เป็นที่ประชาสัมพันธ์ ที่โฆษณา ส่วนข้อความที่ได้รับความนิยมในการเขียนบนทีเชิร์ต เช่น “ฉันหัวใจเอ็นวายซี” รวมถึงลายล้อเลียนต่างๆ ที่ตามมา หรือข้อความ “staying alive” ที่ได้รับความนิยมช่วงหนึ่งในกรุงเทพ
                                               เสื้อทีเชิร์ตมีหลายรูปแบบไว่จะเป็นในแบบลวดลายต่างๆเช่น ลายการ์ตูน ลายดอกไม้ ลายรูปดารา ลายธรรมชาติ และอื่นๆอีกมากมายและเป็นที่นิยมในทุกสมัยไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ วัยไหนๆก็สวมใส่ได้เพราะเสื้อยืดจะมีราคาถูกไม่แพงมากนักสามารถหาสวมใส่ได้ ง่ายโดยทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น