Chatuchak Weekend Market
Chatuchak (or Jatujak; Thai: จตุจักร) weekend market in Bangkok is the largest market in Thailand and the world's largest weekend market. Frequently called J.J., it covers over 35 acres (0.14 km²) and contains upwards of 15,000 stalls. It is estimated that the market receives 200,000 visitors each day.[1] Most stalls only open on Saturdays and Sundays though Jatujak Plaza, the western section is open daily. In the north west corner is the J.J. Mall, with three floors of assorted oddments as well as eateries.
The market offers a wide variety of products including household items, clothing, Thai handicrafts, religious artifacts, collectables, foods, and live animals. For tourists, there are a number of onsite companies who will send purchases abroad. Tourists also find Chatuchak a prominent place to find skilled Thai iced tea makers practicing their trade
วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555
รายการ @จตุจักร
เสื้อยืดแนวอินดี้ ขายดีเพราะเป็นศักดิ์ศรีบอกตัวตน
"เด็กแนว เด็กแว้น เด็กอินดี้ " เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยคือสรรพนาม แทนแนวทางของวัยรุ่นยุคใหม่ อันเ็ป็นปรากฎการทางสังคมที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย
วัยรุ่นเหล่านี้ต่างก็ต้องการมีตัวตน จากการกำหนดว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มใด เพื่อแสดงพฤติกรรมและวิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย แต่งหน้าทำผม การเลือกกิจกรรมเพื่อการสังสรรค์ การคบเพื่อน ให้ตรงแนวทาง ผ่านสรรพนามตามแนวทางที่พวกเขาเลือก
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเด็กแนวชอบแต่งตัวตามแบบศิลปิน ชอบศิลปะ มักจะแสดงออกถึงการเป็นคนคิดนอกกรอบ โดยมีรถเมล์ รถแท็กซี่ รถไฟฟ้าเป็นยานพาหนะ
จึงไม่เข้ากัลกลุ่มเด็กแว๊นที่แต่งตัวฉูดฉาด ออกแนวเที่ยวกลางคืน ขี่มอเตอร์ไซร์แต่งทำท่อเสียงดัง แตกต่างจากกลุ่มเด็กอินดี้ ที่พยายามแสดงออกว่าตนเองชอบหนัง ชอบดนตรี ชอบศิลปะที่แตกต่างจากกระแสหลัก
เมื่อเป็นเช่นนี้หากคุณผู้อ่านหรือผู้ประกอบการท่านใด ที่ต้องการประกอบการอาชีพโดยการทำธุรกิรรองรับพวกเขาเหล่านี้ ให้ได้ทุกแนว ไม่ใช่เฉพาัะแนว ด้วยการจับจุดร่วมเดียวกันจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย เพราะแต่ละกลุ่มมีแนวคิด มีความเชื่อ มีไลฟ์สไตล์ มีการแสดงออกเฉพาะกลุ่ม ผ่านแฟชั่น เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับและความสวยความงามที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง
แต่ยังมีการค้าขายประเภทหนึ่งที่โดนใจ ตรงใจกลุ่มวัยรุ่น ทุกแนว แม้พวกเขาจะมีแนวทางแตกต่างกันก็คือ เสื้อยืด เพราะไม่ว่าวัยรุ่นคนไหนๆก็ชอบเสื้อยืด จึงเป็นสินค้าที่ซื้อง่ายขายคล่ิอง ยิ่งถ้าเป็นเสื้อยืดที่ตรงใจกลุ่มพวกเขาแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะก็จะยิ่งขายดี สามารถทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และมั่งคั่งร่ำรวยได้
ทว่าตลาดแฟชั่นนั้นกว้าง มีผู้ประกอบการ มีผู้ผลิตจำนวนมหาศาล มีผลิตภัณฑ์เกรดต่างๆ ที่มีชื่อเสียงแตกต่างกันไป จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการว่าจะเลือกรับเสื้อผ้าจากผู้ค้าส่งตามแหล่งใด ไม่ว่าจะเป็น
- เสื้อผ้ามือสองเปิดกระสอบจากตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ ติดกับชายแดนเขมร
- เสื้อผ้าแฟชั่นแนวบูติคสไตล์ หรือแบรนด์เนม จากย่านประตูน้ำ
- เสื้อผ้าแนวเก๋ เฉี่่ี่ยว เท่ห์ ไม่ค่อยเหมือนใคร จากตลาดนัดจตุจักร
จึงเรียกได้ว่าสินค้าหรือเสื้อผ้าแฟชั่น โดยเฉพาะเสื้อยืดที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นแนวต่างๆ จึงมีอยู่จำนวนมหาศาล แต่ความแตกต่างกันกลับมีน้อย เพราะส่วนใหญ่เป็นกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมโรงงาน ที่ผลิตตั้งแต่ร้อยตัวในโรงงานเล็กๆ หรือเจ้าของเป็นผู้ออกแบบเอง ไปจนถึงเป็นพันเป็นหมื่นตัว เพื่อกระจายการวางจำหน่ายในห้างค้าปลีกต่างๆ
เมื่อกระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมเป็นเช่นนี้ จึงทำให้วัยรุ่นแนวต่างๆดังที่ได้กล่าวมา ซึ่งมีอยู่จำนวนมหาศาล จึงไม่โปรกที่จะเลือกซื้อเสื้อยืดที่ผลิตในกระบวนการอุตสาหกรรมเท่าใดนัก เพราะคิดว่าเป็นเสื้อโหล เพราะใครๆก็ใส่กัน จึงกลัวที่จะใส่ชนกับคนอื่น หรือไม่ใช่สไตล์ที่ตนเองยอมรับ
ทางออกของพวกเขาคือ การหาเสื้อยืดที่หากไม่ออกแบบด้วยตนเอง ก็ไปหาซื้อเสื้อผ้ามือสองตามแหล่งต่างๆซึ่งส่งมาจากตลาดโรงเกลืออีกที เพื่อนำมาประยุกต์ให้เป็นแนว เป็นสไตล์ของตัวเองอย่างไม่เหมือนใคร
ดังนั้น ตลาดเสื้อยืดที่ตอยสนองความต้องการของวัยรุ่นแนวต่างๆ จึงเป็นตลาดที่กว้าง แต่ผู้ประกอบการจำนวนมากมองข้ามไป แต่ถ้าหากจับหลักได้ แล้วนำมาประกอบเป็นธุรกิจก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
เหมือนเสื้อผ้าแบรนด์เก๋ โดนใจวัยรุ่นเด็กแนวได้สร้างประวัติศาสตร์เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น แฮปปี้เบอร์รี่ (Happy Berry ) เสื้อผ้าสีหวานลูกกวาด เรดดัสต์ ( Red Dust) เสื้อผ้าแนวคอมมิวนิสต์รวถึง บอย ที-เชิร์ต ( Boy T-Shirt ) ที่โดดเด่นทางด้านลายการ์ตูนและลายกราฟิกในแบบญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติยอมรับ
สำหรับผู้ประกอบการเสื้อยืดที่โดนใจวัยรุ่นกลุ่มเด็กแนวในปัจจุบัน ร้อนแรงได้แก่ เสื้อยืดยี่ห้อ I can จากแนวคิดทางธุรกิจของ คุณกนกอร เมืองรื่น หรือที่เรียกกันติดปากว่า เสื้อยืดแนวอินดี้
คุณกนกอร ได้แนวคิดในการทำธุรกิจเสื้อยืดจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ โดยเฉพาะในระบบอุตสาหกรรมด้วยการนำเสื้อยืดสีพื้นหลากหลายสี มาทำการสกรีนลายลงไป ในลักษณะแฮนด์เมดแบบอินดี้ๆ หากเป็นผู้ประกอบการรายอื่น เมื่อเสร็จกระบวนการสกรีนลาย หรือพิมพ์ลายก็อาจจะส่งตรงสูากระบวนการบรรจุหีบห่อ หรือส่งขายทันที
สำหรับกนกอร การสร้างมูลค่าเพิ่ม คือสิ่งสำคัญเพื่อก่อให้เกิดความแตกต่างจากเสื้อยืดแบรนด์อื่นๆ ที่สามารถขายได้เพราะตรงใจกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นแนวต่างๆด้วยการปักเลื่ิอมหรือปักลายลงไป โดยการหาจุดเด่นของลายภาพสกรีน เป็นอันดับแรก จากนั้นจึงกำหนดจุดในการปักตามความเหมาะสม พิจารณาว่าหากลายเสื้อกินพื้นที่ขนาดใหญ่จะไม่เน้นปักมาก ให้เด่นเฉพาะบางจุดเพื่อสร้่างความโดดเด่นบนตัวเสื้อสร้างความเก๋ไก๋ และโดนใจวัยรุ่นเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้เรื่องของแพ็กเกจก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหมายถึงสิ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของเสื้อที่ คุณกนกอร สร้างมูลค่าเพิ่มไปแล้วได้อีกคือ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกระดับ ด้วยการนำเสื้อมาบรรจุไว้ในกระป๋องทรงกลม อันเป็นเอกลัษณ์ที่จะทำให้ใครๆ ทราบว่า นี่แหละคือ เสื้อยืด I can เหมือนที่ผู้คนทั่วไป เมื่อเห็นกล่องกระดาษสี่เหลี่ยมสีแดงฉูดฉาดของ บอย ที -เชิร์ต ก้รู้ได้ทันทีว่า นี่แหละเสื้อ บอย ได้ในโรงหนังสยาม
ที่สำคัญคือเสื้อยืดของ คุณกนกอร เป็นที่โดนใจของวัยรุ่นทุกแนว ซึ่งไม่ใช่ัเรื่องง่ายๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ เพราะส่วนใหญ่วัยรุ่นแนวต่างๆ จะเลือกกิน เลือกใช้สิ่งต่างๆ เฉพาะแนวที่พวกเขาเลือกเอาไว้เท่านั้น
แนวคิดและไอเดียของ คุณกนกอร จึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับท่านที่ต้องการประกอบธุรกิจทางแฟชั่นสามารถนำไปพิจารณา เพื่อต่อยอดการขายเสื้อผ้าวัยรุ่นแนวใหม่ให้เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งขอย้ำอีกครั้งว่า ตลาดวัยรุ่นแนวต่างๆ เป็นตลาดที่กว้างมหาศาล มีกำลังการซื้อสินค้าแฟชั่นที่ราคาไม่แพง โดยเฉพาะเสื้อยืดที่โดนใจพวกเขา
หากกวาดตลาดเก็บลูกค้าวัยรุ่นแนวต่างๆมารวมกันได้ ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ให้ไม่ว่าวัยรุ่นแนวไหนๆเกิดความนิยม โคตรมหาศาล เพราะหากผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นศูนย์กลางของวัยรุ่นทุกแนวแล้วความมั่งคั่งร่ำรวย ต้องเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
เพียงแต่คุณต้องคิดและต้องหาให้เจอเท่านั้น
ตลาดนัดจตุจักร (Jatujak Market)
ตลาดแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 60 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพนั้นได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัด แต่เพียงไม่ถึงปีทางราชการก็ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามไชยและย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงในปี พ.ศ. 2501
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธินตอนต่อจากสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่ กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบัน ตลาดนัดสวนจตุจักรได้เปลี่ยนอำนาจการดูแลจากกรุงเทพมหานคร สู่การรถไฟแห่งประเทศไทยโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งในเรื่องก็มีผู้ค้าขายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
27 โครงการในตลาดนัดจตุจักร
การเดินทาง
มีหลายรูปแบบทั้งรถยนต์ส่วนตัวซึ่งต้องนำไปจอดที่ลานจอดรถตลาดนัดจตุจักรหรือ Park & Ride และมีรถรับส่งระหว่างลานจอดรถกับตลาดนัดจตุจักร (ประตู 2) หรือนั่งรถประจำทางซึ่งมีหลายสายผ่าน และที่สะดวกมากก็คือโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลงที่สถานีหมอชิต หรือรถไฟฟ้าใต้ดินลงที่สถานีกำแพงเพชร นอกจากนี้ก็ยังมีรถแท็กซี่ และรถตู้หลายสายให้บริการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธินตอนต่อจากสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่ กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบัน ตลาดนัดสวนจตุจักรได้เปลี่ยนอำนาจการดูแลจากกรุงเทพมหานคร สู่การรถไฟแห่งประเทศไทยโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งในเรื่องก็มีผู้ค้าขายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
27 โครงการในตลาดนัดจตุจักร
|
|
การเดินทาง
มีหลายรูปแบบทั้งรถยนต์ส่วนตัวซึ่งต้องนำไปจอดที่ลานจอดรถตลาดนัดจตุจักรหรือ Park & Ride และมีรถรับส่งระหว่างลานจอดรถกับตลาดนัดจตุจักร (ประตู 2) หรือนั่งรถประจำทางซึ่งมีหลายสายผ่าน และที่สะดวกมากก็คือโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลงที่สถานีหมอชิต หรือรถไฟฟ้าใต้ดินลงที่สถานีกำแพงเพชร นอกจากนี้ก็ยังมีรถแท็กซี่ และรถตู้หลายสายให้บริการ
หมายเลขรถประจำทางที่ผ่านตลาดนัดจตุจักร
ป้ายรถประจำทางหน้าสวนจตุจักร (ถ.พหลโยธิน)
- รถธรรมดา: 3, 8, 26, 27, 28, 29, 34, 38, 39, 44, 52, 59, 63, 77, 90, 96, 104, 108, 122, 126, 134, 136, 138, 145, 182, 188
- รถปรับอากาศ : ปอ.3, ปอ.28, ปอ.29, ปอ.34, ปอ.39, ปอ.44, ปอ.59, ปอ.63, ปอ.77, ปอ.104, ปอ.126, ปอ.134, ปอ.138, ปอ.145, ปอ.157, ปอ.177, ปอ.502, ปอ.503, ปอ.509, ปอ.510, ปอ.512, ปอ.517, ปอ.524, ปอ.529
ป้ายรถประจำทางหน้าจตุจักร เดย์ แอนด์ ไนท์ หรือ ตลาดนัดจตุจักร ประตู 1 (ถ.กำแพงเพชร 2)
- รถธรรมดา : 26, 77, 96, 104, 122, 134, 136, 138, 145, 157, 182
- รถปรับอากาศ : ปอ.77, ปอ.134, ปอ.138, ปอ.145, ปอ.157, ปอ.509, ปอ.517, ปอ.529, ปอ.536
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)