ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธินตอนต่อจากสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่ กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบัน ตลาดนัดสวนจตุจักรได้เปลี่ยนอำนาจการดูแลจากกรุงเทพมหานคร สู่การรถไฟแห่งประเทศไทยโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งในเรื่องก็มีผู้ค้าขายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
27 โครงการในตลาดนัดจตุจักร
|
|
การเดินทาง
มีหลายรูปแบบทั้งรถยนต์ส่วนตัวซึ่งต้องนำไปจอดที่ลานจอดรถตลาดนัดจตุจักรหรือ Park & Ride และมีรถรับส่งระหว่างลานจอดรถกับตลาดนัดจตุจักร (ประตู 2) หรือนั่งรถประจำทางซึ่งมีหลายสายผ่าน และที่สะดวกมากก็คือโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลงที่สถานีหมอชิต หรือรถไฟฟ้าใต้ดินลงที่สถานีกำแพงเพชร นอกจากนี้ก็ยังมีรถแท็กซี่ และรถตู้หลายสายให้บริการ
หมายเลขรถประจำทางที่ผ่านตลาดนัดจตุจักร
ป้ายรถประจำทางหน้าสวนจตุจักร (ถ.พหลโยธิน)
- รถธรรมดา: 3, 8, 26, 27, 28, 29, 34, 38, 39, 44, 52, 59, 63, 77, 90, 96, 104, 108, 122, 126, 134, 136, 138, 145, 182, 188
- รถปรับอากาศ : ปอ.3, ปอ.28, ปอ.29, ปอ.34, ปอ.39, ปอ.44, ปอ.59, ปอ.63, ปอ.77, ปอ.104, ปอ.126, ปอ.134, ปอ.138, ปอ.145, ปอ.157, ปอ.177, ปอ.502, ปอ.503, ปอ.509, ปอ.510, ปอ.512, ปอ.517, ปอ.524, ปอ.529
ป้ายรถประจำทางหน้าจตุจักร เดย์ แอนด์ ไนท์ หรือ ตลาดนัดจตุจักร ประตู 1 (ถ.กำแพงเพชร 2)
- รถธรรมดา : 26, 77, 96, 104, 122, 134, 136, 138, 145, 157, 182
- รถปรับอากาศ : ปอ.77, ปอ.134, ปอ.138, ปอ.145, ปอ.157, ปอ.509, ปอ.517, ปอ.529, ปอ.536
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น