วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติเสื้อ t-shirt และเรื่องผ้าน่ารู้

เริ่มกันด้วยประวัติเสื้อ t-shirt ครับ

สมัยก่อนคนอเมริกันกับคนฝรั่งเศสเคยเถียงกันว่า ใครกันหนอที่เป็นคนทำให้เสื้อยืดแพร่หลาย ฝั่งอเมริกันก็บอกว่าเขานี่แหละที่ทำให้เสื้อยืดเป็นที่รู้จัก เพราะอุตสาหกรรมหนังและเพลง แต่ฝรั่งเศสก็บอกว่าเขาต่างหากที่เป็นต้นไอเดียเสื้อชั้นในของผู้ชายที่ทหารจีไอเอาไ
ปเลียนแบบ จนกลายมาเป็นเสื้อยืดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเถียงกันอย่างไรคงไม่มีใครมานั่งสนใจว่าใครจะเป็นคนคิดก่อน เพราะเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็มีและใส่เสื้อยืดกันทั้งนั้น

เสื้อยืดเริ่มเป็นที่ยอมรับในวงกว้างจริงๆ นั้น มาจากวัฒนธรรมของอเมริกันโดยแท้ ในยุคทศวรรษ 1950 เริ่มมีการใส่เสื้อยืดกันเดินตามท้องถนน หนังเรื่อง Street Car Name Desire นำแสดงโดยมาร์ลอน แบรนโดที่ออกฉายในปี 1951 และ Rebel Without a Cause นำแสดงโดยเจมส์ ดีน ในปีค.ศ.1955 ตอกย้ำภาพของคนรุ่นใหม่กับเสื้อยืดสีขาว กางเกงยีนส์รัดรูปเปรี๊ยะ ทำเอาใครต่อใครแต่งตัวเลียนแบบดารากันเป็นแถว


แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี เสื้อยืดก็ยังเป็นแฟชั่นที่ดูไม่สุภาพ “โดยส่วนตัวผมเห็นว่าเสื้อยืดก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถใส่ได้ทุกโอกาส ไม่ว่าจะมีคอวี มีปกหรือคอกลมก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าใส่ไม่ได้ บางงานหากไม่ต้องการอะไรที่เป็นทางการมาก เสื้อยืดแฟชั่นทับด้วยเบลเซอร์สักตัว ก็ดูดีได้” อภิวัฒน์ ยศประพันธ์ สไตลิสท์ของนิตยสารแพรวบอกกับเราอย่างนั้น แถมกำชับว่า เสื้อยืดแม้ว่าจะสะดวกสบายสวมใส่ง่าย แต่ก็ ‘ไม่ควรจะง่ายทุกโอกาส’


ยุคเริ่มแรกของการเกิดทีเชิ้ตคงไม่แตกต่างจากหนังมากนัก ในแง่ที่ว่า เสื้อยืดเป็นตัวแทนของการต่อต้านสังคม ความรู้สึกของ ‘ความไม่สุภาพ’ ของเสื้อยืดนั้นก็ยังติดตัวมันอยู่จนถึงทุกวันนี้ และที่สำคัญเสื้อยืดสามารถสะท้อนความคิดและบุคลิกของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี


“ถามว่าเราดูคนจากรองเท้าที่ใส่ได้ไหม ก็ได้ครับ แต่ว่าเสื้อยืดราคาถูกกว่าหาซื้อง่ายกว่า ฉะนั้นผมเชื่อว่า ถ้าเราอยากจะรู้จักวัยรุ่นสักคนในสมัยนี้ ต้องดูที่เสื้อยืดที่เขาใส่ ดูคำดูรูปที่อยู่บนเสื้อ เราก็จะรู้ได้ประมาณหนึ่งว่าเขาเป็นคนอย่างไร” ป๋าเต็ดหรือยุทธนา บุญอ้อม ผู้ริเริ่มจัดมหกรรมเสื้อในบ้านเรา ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่สาม


“ผมเคยนำเสื้อของศิลปินอย่างคุณวสันต์ สิทธิเขต มาจัดแสดงในงานทีเชิ้ต เฟสติวัลของเราในครั้งแรก เขาจะทำเสื้อยืดขึ้นมาใหม่ทุกครั้งที่เขาเข้าร่วมประท้วงในเหตุการณ์ต่างๆ พอเราเอามารวมกันในที่เดียว พบว่ามันเป็นภาพสะท้อนความคิดที่ดีมากของคนๆ หนึ่ง ที่ต้องการสื่อความคิดของตัวเองได้ดีมาก”


เสื้อเชิ้ตเป็นเหมือนผ้าใบสีขาวที่รอคนมาเติมสีแต่ดีกว่าตรงที่เราใส่มันไปไหนมาไหนไ
ด้ ในยุคทศวรรษ 1960-1970 ยุคที่ดนตรีร็อคทรงอิทธิพลอย่างมาก วงดนตรีต่างๆ นำเอาเสื้อยืดมาสกรีนลาย ขายเป็นของที่ระลึกยามที่ออกทัวร์คอนเสิร์ต หรือใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งหน้าที่ระหว่างคนดูกับทีมงานอย่างได้ผล เสียดายที่ไม่มีการจดบันทึกไว้ว่าใครเป็นคนริเริ่มทำ


หลายๆ วงขายเสื้อยืดได้พอๆ กับยอดขายไปแล้วครับ อย่าง The Beatles หากว่านับเอาจำนวนเสื้อที่เขาขายได้ทั้งหมด ทั้งละเมิดลิขสิทธิ์และถูกกฎหมายแล้วล่ะก็ เผลอๆ ยอดขายอาจไม่ได้น้อยไปกว่ายอดอัลบั้มที่พวกเขาสามารถขายได้


ยุคแรกๆ ของทีเชิ้ตที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการดนตรี ส่วนมากเป็นเสื้อของวงร็อคเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เดอะ โรลลิ่งสโตน (The Rolling Stone) เลด เซปลิน (Led Zeplin) บ๊อบ มาร์เลย์ (Bob Marley) จิมมี่ เฮ็นดริกซ์ (Jimmy Hendrix) ทีเชิ้ตสกรีนลายสัญลักษณ์ของวงบางวง กลายเป็นลายคลาสสิคที่ดีไซเนอร์หลายคนหยิบจับมาใช้จนทุกคนจำได้ ไม่ว่าจะเป็นลายปากแลบลิ้นของ เดอะ โรลลิ่งสโตน หรือว่ามงกุฎและลายธงชาติอังกฤษที่เรามักเห็นคู่กับวงเดอะเซ็กซ์ พิสทอลและวิเวียน เวสต์วู้ด (Vivienne Westwood)


ว่าไปแล้วเธอก็เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการผสมผสานระหว่างแฟชั่นและดนตรีเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ยุคแรก การเปลี่ยนชื่อร้านของเธอจาก ‘Let it Rock’ มาเป็น ‘Too Fast to Live Too young to Die’ สะท้อนความคิดที่ได้รับมาจากฮิปปี้และดนตรีร็อคโดยตรง การเข้าไปมีส่วนสำคัญของการดังเป็นพลุแตกของเดอะเซ็ก พิสตอล ที่สามีของเธอขณะนั้น (มัลคอม แมคลาเรน-Malcom McLaren) เป็นผู้จัดการวง ทำให้ภาพลักษณ์ของวิเวียน เวสต์วู้ดไม่เคยหลุดอกจากความเป็นพังค์ที่กอดเกี่ยวกับดนตรีอย่างแยกไม่ออก


ดนตรีและแฟชั่นก็ไม่เคยห่างกัน บางครั้งดนตรีและนักดนตรีก็เป็นตัวกำหนดรูปแบบของแฟชั่นของแต่ละยุคแต่ละสมัยไปโดยปร
ิยาย และทีเชิ้ตก็ไม่เคยหลุดเทรนด์ หลังๆ คุณคงเริ่มสังเกตว่าทีเชิ้ตไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่วงร็อคเท่านั้น ทีเชิ้ตรัดติ้วแบบที่ริกกี้ มาร์ตินใส่ก็ทำให้คนฮิตกันไปทั่ว หรือทีเชิ้ตสกรีนตัวหนังสือ ‘Britney Spear’ ที่แปะอยู่บนเสื้อของมาดอนน่า ทำเอาใครต่อใครต้องหามาใส่ เสื้อยืดเป็นตัวบอกรสนิยมอย่างจงใจ


หลังยุคทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา เสื้อผ้ายี่ห้อดังต่างๆ เริ่มหันมาสนใจกับตลาดทีเชิ้ต แบบที่นิยมมากในยุคนั้นก็คือทีเชิ้ตสีขายสกรีนโลโก้ปะติดกลางหน้าอก คาลวิน ไคลน์ เป็นตลาดไฮแบรนด์เจ้าแรกๆ ที่ทำให้เกิดกระแสนี้จนกระทั่งลามไปถึงเจ้าอื่นๆ แต่ตอนนี่ทีเชิ้ตสุดฮิตในหมู่นักร้องและศิลปินของอเมริกาไม่มีทีเชิ้ตไหนเกิน anti-bush-t-shirt ที่ขายอยู่ในเว็บไซท์ www.bant-shirt.com ไปได้ เพราะก่อตั้งโดยจุดประสงค์เพื่อต้องการรณรงค์และต่อต้านความไม่ชอบธรรมของท่านผู้นำท
ี่ปิดหูปิดตาประชาชน แล้วทำตัวเหมือนพระเจ้าที่ชี้นิ้วกำหนดทุกอย่าง ในเว็บไซท์นี้จึงมีเสื้อยืดต่อต้านการเมือง รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม และทีเชิ้ตส่งเสริมมนุษยชน


ใครเห็นแล้วอยากทำล้อเลียนผู้นำบางประเทศก็ไม่น่าจะผิดแต่ประการใด



บทความ โดย นิตยสาร GM ฉบับ June 2006 (ref welovetshirt.com)



ชนิดเนื้อผ้าทำเสื้อยืด

เนื้อผ้าสำหรับเสื้อคอปกและเสื้อยืด (POLO & T-SHIRT)

ลักษณะของเนื้อผ้าสำหรับเสื้อโปโลและเสื้อยืด ที่นิยมใช้กัน มี 3 ชนิด ดังนี้

เนื้อผ้า
1. Cotton 100% (ผ้าฝ้าย) ความยืดหยุ่น สูงมาก การระบายอากาศ สูงมาก
2. TC ( Cotton ผสม Polyester ) ความยืดหยุ่น ปานกลาง การระบายอากาศ ปานกลาง
3. TK ( Polyester หรือ ใยสังเคราะห์ ) ความยืดหยุ่น พอใช้ การระบายอากาศ พอใช้

1. Cotton 100% (ผ้าฝ้าย)
Cotton เป็นเส้นใยธรรมชาติ 100% ผลิตจากฝ้ายสวมใส่สบายะบายอากาศได้ดีซับเหงื่อได้ดีเยี่ยมเนื้อผ้าจะมีลักษณะ
ด้าน แต่ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือมันจะยับง่าย เมื่อซักบ่อยๆ ก็จะย้วย

ข้อดี
1. สวมใส่สบาย ระบายอากาศดีมาก
2. ผ้านุ่มเนียนสวย
3. การดูดซับน้ำดี

ข้อเสีย
1. ผ้าต้องหดตัวเมื่อผ่านการซักครั้งแรก
2. ราคาสูงกว่าผ้า TC และ TK
3. ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพผ้าและร้านขาย

ประเภทเส้นใย Cotton จะแบ่งตามลักษณะได้ดังนี้

1.1 Cotton OE เป็นผ้า Cotton เกรดต่ำสุด ลักษณะของผ้าจะมีความกระด้างมากกว่าผ้า Cotton ชนิดอื่นๆ
1.2 Cotton Semi เป็นผ้า Cotton เกรดปานกลาง ผ้าจะมีความเนียน ณ ระดับหนึ่ง ไม่กระด้าง ราคาไม่สูง และ คุณภาพค่อนข้างใช้ได้
1.3 Cotton Comb เป็นผ้า Cotton เกรดดีที่สุด ลักษณะผ้าจะมีความเนียนและเงามาก ราคาสูงมากกว่าCottonเกรดอื่น

ขนาดเส้นด้าย ที่นิยมนำมาทอผ้า Cotton มีดังนี้
1.1 Cotton No.20 เส้นด้ายจะมีขนาดใหญ่สุด ผ้าที่ทอได้จึงหนาพอสมควร
1.2 Cotton No.32 เส้นด้ายจะมีขนาดเล็ก ผ้าที่ทอได้จะเนียนและบาง
1.3 Cotton No.40 เส้นด้ายมีขนาดเล็กที่สุด ผ้าที่ทอจึงเนียนมาก และบางมาก จึงต้องทอเป็นเส้นคู่ และราคาจะค่อนข้างสูง


2. TC (Cotton ผสม Polyester)
เป็นเส้นใยผสมระหว่าง Cotton และ Polyester ผ้าชนิดนี้นิยมทอผ้าให้มีลักษณะเป็นรูเนื่องจากผ้าประเภท TK และ TC มีสมบัติในการระบายอากาศที่ไม่ค่อยดีนัก การทอผ้าจึงนิยมทอผ้าให้มีรูเล็กๆ เพื่อช่วยระบายอากาศ และเพื่อความสบายในการสวมใส่เนื้อผ้าจะมีลักษณะความมัน (น้อยกว่า TK)

ข้อดี
1. สวมใส่สบาย ระบายอากาศดีพอใช้
2. การดูดซับน้ำดีพอใช้

ข้อเสีย
1. ผ้ามีการย้วยบ้างเมื่อผ่านการซัก
2. ผ้าจะไม่เนียนสวยเท่า Cotton
3. ราคาขึ้นอยู่กับสีผ้า

ขนาดเส้นด้าย ที่นิยมนำมาทอผ้า TC มีดังนี้

1.1 TC No.20 เส้นด้ายจะมีขนาดใหญ่สุด ใช้ทอได้ทั้งผ้าเรียบและผ้าจูติ
1.2 TC No.34 เส้นด้ายจะมีขนาดเล็กมาก ใช้ทอผ้าจูติ จึงต้องทอเป็นเส้นคู่


3. TK (Polyester หรือ ใยสังเคราะห์)

เป็นเส้นใยสังเคราะห์ผลิตจาก Polyester ผ้าใยสังเคาะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/K หรือ TK เนื้อผ้าจะมีลักษณะมัน คุณสมบัติ ทั่วๆไป คือ ผ้า TK จะไม่ค่อยยับ อยู่ทรง ไม่ย้วย สีไม่ตก
แต่ข้อเสียก็คือเสื้อที่ทำจากผ้า TK ใส่แล้วจะร้อน เนื่องจากระบายอากาศไม่ดีผ้า TK จึงนิยมทอ ให้มีลักษณะเป็นรูเช่นกัน ทนทานหาได้ง่ายและวางขายตามท้องตลาด


ข้อดี
1. ราคาถูก
2. ทนทาน
3. หาซื้อง่ายตามท้องตลาด

ข้อเสีย
1. ผ้าจะเป็นเม็ดเมื่อผ่านการซัก
2. เนื้อผ้ากระด้าง ระบายอากาศไม่ดี
3. ไม่ดูดซับน้ำ

เส้นด้าย ที่นิยมนำมาทอผ้า TK มีดังนี้

1.1 TK No.20 เส้นด้ายจะมีขนาดใหญ่สุด ใช้ทอได้ทั้งผ้าเรียบและผ้าจูติ

ลักษณะการทอมีอยู่ 2 แบบ

แบบเนื้อ Lacoste หรือ เนื้อ Juti < จุติ>
- ทอแบบ Juti รูจะเป็นรูปรังผึ้ง
- ทอแบบ Lacoste รูจะเป็นรูปข้าวหลามตัดเล็กๆ
แบบเนื้อเรียบ


เนื้อผ้า และ ความเหมาะสม
Cotton 100% (ผ้าฝ้ายธรรมชาติ)

เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้ในที่กลางแจ้งและโดนแดดบ่อยๆ
เพราะผ้าจะระบายอากาศได้ดีไม่ค่อย อมเหงื่อ
หรือต้องการความหรูหราใส่สบายแต่ราคาอาจจะสูงซักนิดนึง

TC ( Cotton ผสม Polyester )

เหมาะกับคนที่เหงื่อออกง่ายแม้ทำงานอยู่ในห้องแอร์
เพราะระบายอากาศได้ดีพอสมควรและข้อดีที่โดดเด่นกว่า
Cotton 100% คือ อยู่ทรง ไม่หดไม่ย้วย (ส่วน Cotton
จะคุม % ความหดและย้วยลำบาก)


TK ( Polyester หรือ ใยสังเคราะห์ )

เหมาะที่จะใช้ในห้องแอร์ ไม่ค่อยโดนแดด


มีข้อแนะนำการซักและการดูแลรักษาเสื้อยืดให้อยู่กับเรานานๆมาแนะนำนิดหน่อยครับ

1. ให้แยกซักระหว่างผ้าขาวกับผ้าสี แนะนำให้ซักมือจะดีกว่า

2. ผงซักฟอกให้เลือกที่ไม่รุนแรง และ ถนอมใยผ้าครับ

3. ไม่ควรตากโดยใช้ไม้แขวนเสื้อ ให้กลับด้านแล้วพาดเสื้อกับที่ราวตากผ้า

4. เมื่อเสื้อแห้งถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้ไม้แขวนเสื้อนะครับ ควรผับเก็บจะดีที่สุดครับ

ควรระวังข้อ3 กับ ข้อ4 เพราะเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้เสื้อของคุณเสียทรงเร็ว และคอเสื้อยืดง่ายครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น